วันพุธที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

7.6 พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม

-ธรรมชาติของพฤติกรรม
-ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์
-ปัจจัยทางชีวภาพกับพฤติกรรมมนุษย์
-การเกิดพฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฎีของ Abraham Maslaw
-ความสัมพันธ์แห่งชีวิตมนุษย์กับพฤติกรรม

-บรรทัดฐาน(Social Norm)
-สถานภาพ(Status)
-บทบาท(Role)
-การควบคุมกลุ่มคน(Intergration the group
through social contral)
-การลำดับชั้นทางสังคม(Social Ranking
-พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาอาการแสดงออกทุกรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้งภายนอกและใน เป็นการแสดงออกที่เห็นได้จากภายนอก โดยรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากการทำงานร่วนกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
-กลไกการเกิดพฤติกรรมการที่พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องประกอบด้วย
1. สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น (STIMULUS)
2. เหตุจูงใจ (MOTIVATION) ซึ่ง หมายถึงความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์ก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม เช่น ความหิว ความกระหาย เป็นต้น
พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับความเจริญของหน่วยต่างๆ ดังนี้
1. หน่วยรับความรู้สึก (RECEPTER)
2. ระบบประสาทส่วนกลาง (CENTRAL NERVOUS SYSTEM)
3. หน่วยปฏิบัติงาน (EFFECTOR)
ประเภทของพฤติกรรม
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (INNATE BEHAVIOR)พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดเป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ มีรากฐานมาจากกรรมพันธุ์ (สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อได้รับประสบการณ์เพิ่มเติมขึ้น) ไม่ต้องมีการเรียนรู้มาก่อน มีแบบแผนที่แน่นอนในสัตว์แต่ละสปีชีส์ สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
2. พฤติกรรมการเรียนรู้ (LEARNING BEHAVIOR)พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่จะต้องอาศัยประสบการณ์ ส่วนใหญ่พบพฤติกรรมแบบนี้ในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี
3. พฤติกรรมทางสังคม (SOCIAL BEHAVIOR)พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่สัตว์ใช้สื่อสารติดต่อระหว่างสปีชีส์เดียวกัน หรือต่างสปีชีส์ที่อยู่ร่วมกัน โดยอาจเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดหรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ก็ได้
มนุษย์อาจแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น เหนียมอาย เห็นแก่ตัว ชอบเป็นภาระช่วยเหลือผู้อื่น ชอบข่มเหงรังแกผู้อื่น ตื่นตกในง่าย ฯลฯ พฤติกรรมต่างๆ ที่มนุษย์แสดงออกอาจแยกออกเป็นรูปแบบต่างๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมปกติ
2. พฤติกรรมเบี่ยงเบน
พฤติกรรมปกติ ได้แก่ พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกตามบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งผู้คนในสังคมนั้นยอมรับ เป็นต้นว่า การให้ความช่วยเหลือไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การยอมรับกติกาของสังคม การรู้จักคบค้าสมาคมกับผู้อื่น
พฤติกรรมเบี่ยงเบน ได้แก่ เป็นพฤติกรรมที่กระทำผิดไปจากบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งอาจเนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว หรือจากความผิดปกติทางร่างกาย หรือด้วยสาเหตุอื่นๆ พฤติกรรมเบี่ยงเบนอาจแสดงออกมาในรูปต่างๆ เช่น

ก. ความเห็นแก่ตัว ลักษณะความเห็นแก่ตัวของมนุษย์นั้น อาจเกิดจากความต้องการเพื่อตนเอง เช่น ถ้าหิวและอาหารมีจำกัด มนุษย์ย่อมจะแย่งชิงกัน มนุษย์ที่เห็นแก่ตัวจะช่วยเหลือคนอื่นก็ต่อเมื่อได้คิดพิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าช่วยแล้วจะสิ่งตอบแทนคุ้มค่าหรือเกินคุ้ม
ข. ก้าวร้าว เช่น ทำลายชีวิตผู้อื่น ทำลายสิ่งของเครื่องใช้ ทำลายชีวิตตนเอง
ค. หนีสังคม ไม่อยากคบค้าสมาคมกับผู้อื่น ยอมพ่ายแพ้ต่อชีวิต ต่อหน้าที่การงาน
ง. ไม่ยอมรับกติกาของสังคม เห็นว่าล้าสมัย หรือไม่ให้ความเป็นธรรม และบางครั้งก็สร้างบรรทัดฐานขึ้นมาใช้เอง หรือชักชวนให้ผู้อื่นร่วมใช้
พฤติกรรมทางสังคมจำแนกตามวิธีการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ได้ดังนี้
1. การสื่อสารด้วยท่าทาง (VISUAL SIGNAL)
2. การสื่อสารด้วยเสียง (SOUND SIGNAL)
3. การสื่อสารด้วยสัมผัส (PHYSICAL SIGNAL)
4. การสื่อสารด้วยสารเคมี (CHEMICAL SIGNAL)
ฟีโรโมน (PHEROMONE)หมายถึง สารเคมีที่สัตว์สร้างขึ้น เมื่อหลั่งออกมาภายนอกร่างกายแล้วจะไปมีผลต่อสัตว์ตัวอื่นซึ่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีระเฉพาะอย่างได้การรับฟีโรโมนมีได้ 3 ทาง คือ
1.ทางกลิ่น- สารที่ชะมดสร้างขึ้นบริเวณใกล้อวัยวะสืบพันธุ์- สารที่ผีเสื้อสร้างขึ้นเพื่อล่อให้ตัวผู้มาสืบพันธุ์
2.ทางการกิน- สารที่สร้างจากต่อมบริเวณรยางค์ปากกาของราชินีผึ้งงานกิน
3.โดยการดูดซึม- แมลงสาบ แมงมุม ตัวเมียสร้างขึ้นเมื่อตัวผู้มาสัมผัสจะตามไปจนพบและผสมพันธุ์กัน- ตั๊กแตนตัวผู้ ปล่อยสารทิ้งไว้หลังการผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนมาสัมผัสเข้าจะกระตุ้นให้เจริญเป็นตัวเต็มวัย
ปัจจัยทางชีวภาพกับพฤติกรรมมนุษย์
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors) ได้แก่ องค์ประกอบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบประสาท ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ ปริมาณน้ำในเลือด โครโมโซม ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้มักจะเป็นสิ่งติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมที่ได้มาจากกรรมพันธุ์ และทำให้เกิดพฤติกรรมลักษณะเฉพาะตัวขึ้น กรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลานได้ เช่น ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ทำให้พฤติกรรมของมนุษย์ผิดไป อาจเป็นคนก้าวร้าหรือมีพฤติกรรมผิดปกติ การเลี้ยงดูการให้ความรักความอบอุ่น เด็กจะเจริญเติบโตเป็นคนที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ถ้าให้อาหารอย่างพอเหมาะตามหลักโภชนาการ เด็กจะเจริญเติบโตเป็นคนแข็งแรงพฤติกรรมต่างๆ จะเป็นปกติได้มากกว่า ไม่เป็นคนก้าวร้าว หันเหเข้าหาอบายมุข นอกจากนั้นการขัดเกลาทางสังคมก็จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมตามต้องการได้มากขึ้น
ความปกติในการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมควบคุมการเจริญเติบโต ต่อมควบคุมความรู้สึกทางเพศ (Gonad) ถ้าทำงานตามปกติจะทำให้คนผู้นั้นมีอารมณ์ปกติ ไม่ก่อพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม แต่ถ้าต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ พฤติกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปได้
มาสโลว์ (Abraham Maslaw 1908-1970) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) ซึ่งเห็นว่า มนุษย์มิใช่ทาสของแรงผลักดันจากความหิว ความกระหาย หรือ ความต้องการทางเพศเท่านั้น แต่มนุษย์ยังเกิดมาพร้อมด้วยศักยภาพของความเป็นมนุษย์ มีความอยากรู้ ความสร้างสรรค์ ความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ในทัศนะของมาสโลว์ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความต้องการ 5 ประเภท จากลำดับต่ำสุดไปสูงสุด ดังนี้
- ความต้องการความสำเร็จแห่งตน (Self-Fulfillment needs)
- ความต้องการนิยมนับถือในตนเอง (Ego needs)
- ความต้องการทางสังคม (Social needs)
- ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)
- ความต้องการทางร่างกาย (Physiological needs)
- ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการที่อยู่ในระดับต่ำสุด แต่เด่นหรือสำคัญที่สุด มนุษย์จะยังไม่สนใจเรื่องอื่นถ้าเขายังหิวกระหาย ความต้องการทางร่างกายนอกจากอาหาร ได้แก่ การพักผ่อน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค
- ความต้องการความปลอดภัย ได้แก่ ความต้องการเพื่อการปกป้องให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ จากการข่มขู่ การแย่งชิงกรรมสิทธิ์ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองแล้ว
- ความต้องการทางสังคม ได้แก่ ความต้องการเพื่อการสมาคม การยอมรับโดยพรรคพวกเพื่อนฝูง ต้องการมิตรภาพและความรัก ความต้องการขึ้นนี้เกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางร่างกายของมนุษย์ได้รับผลเป็นที่พึงพอใจ ความต้องการทางสังคมจะเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมบางประการ เช่น ถ้าไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเขาอาจกลายเป็นนักต่อต้าน ไม่ร่วมมือกับสังคมที่เขาเป็นสมาชิก
- ความต้องการนิยมนับถือในตนเอง (Ego needs) เป็นความต้องการยอมรับ พอใจและภูมิใจในตนเอง และความต้องการในสิ่งที่ก่อให้เกิดชื่อเสียงแห่งตน ความต้องการเพื่อก่อให้เกิดการยอมรับนับถือตน ได้แก่ ความต้องการเพื่อความมั่นใจในตนเอง เพื่อความสำเร็จ ความรู้ความสามารถของตนเอง ส่วนความต้องการเพื่อก่อให้เกิดชื่อเสียงแห่งตน ได้แก่ ความต้องการเพื่อตำแหน่งหน้าที่ เพื่อการรับรอง เพื่อการยอมรับนับถือจากเพื่อน
- ความต้องการความสำเร็จแห่งตน เป็นความต้องการเพื่อพัฒนาตนเองต่อไปเรื่อยๆ ความต้องการเป็นผู้ริเริ่มในเรื่องต่างๆ เพื่อให้สังคมตระหนักในความสามารถของตน เช่น ศึกษา ค้นคว้า เพราะอยากรู้ ทำงาน เพราะใจรักอยากจะทำ

ความสัมพันธ์ของมนุษย์
ความสัมพันธ์ของมนุษย์ หมายถึง สภาวะที่มนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้มีการกระทำต่อกันเพื่อก่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมาย ลักษณะของสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. มีการติดต่อกัน อาจมาพบปะกันโดตรง หรืออาจมีการติดต่อกันทางสื่อสารมวลชนก็ได้
2. มีจุดหมายในการติดต่อกัน เป็นต้นว่า การติดต่อกันระหว่างชาย 2 คน หรือ บริษัท 2 บริษัท เพื่อสั่งซื้อสินค้า หรือร่วมมือกันลงทุนผลิตสินค้าจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อหวังผลกำไร
3. ลักษณะการติดต่อสัมพันธ์กันโดยทั่วไปจะมีลักษณะต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานานซึ่งจะก่อให้เกิดผลแห่งความสัมพันธ์ขึ้น
4. การติดต่อสัมพันธ์กัน ย่อมต้องอาศัยบรรทัดฐานเป็นแนวทางปฏิบัติต่อกันมิฉะนั้นจุดมุ่งหมายแห่งการติดต่อกันคงไม่เป็นผล ความสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะที่ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคม ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความสัมพันธ์ และก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ตายตัวเสมอไป

การร่วมมือกันกระทำกิจกรรมต่างๆ ย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อมนุษย์และสังคม เป็นการกระทำที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
การแข่งขันกันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำ ทั้งนี้เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างมีจำนวนจำกัด ทำให้ต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้ในสิ่งนั้น เช่น ตำแหน่งงาน การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การได้เงินเดือนขึ้น 2 ขั้น การแข่งขันย่อมก่อให้เกิดผลดี ถ้าคู่แข่งขันยอมรับกติกาและไม่มุ่งหวังที่จะทำลายซึ่งกันและกัน
ส่วนความขัดแย้ง ซึ่งจะแสดงออกในลักษณะของการคัดค้าน ต่อต้าน หรือบังคับซึ่งกันและกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมแพ้ไม่สมารถกระทำการใดๆ ให้บรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งระหว่างนักศึกษากับรัฐบาลในกรณีของระบอบการปกครองผู้ที่ต้องการให้ได้ตามเป้าหมายมักจะไม่ใช้กติกา ไม่มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบของการกระทำ คู่ขัดแย้งมักจะทำลายคู่ต่อสู้เพื่อตนจะได้มีโอกาสสำเร็จตามวัตถุประสงค์
การกระทำต่อกันทางสังคมอาจอยู่ในรูปแบบอื่นอีก เป็นต้นว่า การผ่อนปรนเข้าหากัน(Accommodation) การผสมกลมกลืน (Assimilation)
ความสัมพันธ์แห่งชีวิตมนุษย์กับพฤติกรรม

มนุษย์เมื่อเกิดมาในสังคมก็จะแวดล้อมไปด้วยผู้คน เริ่มแรกอย่างน้อยก็มีแม่ ในระยะแรกแห่งชีวิต มนุษย์จะมีพฤติกรรมไปตามธรรมชาติ ยังไม่มีจุดมุ่งหมาย แต่พ่อแม่ก็จะตอบสนองความต้องการการเลี้ยงดูทะนุถนอม ต่อมาเมื่อเด็กหิวก็จะขยับตัวหรือร้อง แม่ก็จะให้อาหารหรือคนอื่นๆ ก็หันมาสนใจ พฤติกรรมเช่นนี้ เมื่อเด็กทำหลายครั้งและได้รับผลกรรมตอบสนองทำให้เด็กเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขกับผลที่จะได้รับ ดังนั้นเมื่อต้องการสิ่งใดก็จะแสดงพฤติกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดผลหรือได้รับผลตามต้องการนั้นๆ
พันธะผูกพันระหว่างพ่อแม่กับลูกมีความสำคัญยิ่งในการขัดเกลาทางสังคม ลูกจะเลียนแบบเอาอย่างพ่อแม่ในการปฏิบัติตนเพื่อการมีชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนอื่น พฤติกรรมต่างๆ ของพ่อแม่จึงเป็นตัวแบบพฤติกรรมของลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกๆ ของชีวิต หลังจากที่ลูกโตขึ้นและได้คบหาสมาคมกับผู้คนขยายวงกว้างออกไป เขาก็จะเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกินอาหาร การรักษาความสะอาด การพูด การเล่น ตลอดจนความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ประสบการณ์ที่เขาได้รับอาจแยกเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับเงื่อนไข สิ่งเร้า เช่น ความชอบ ความกลัว ส่วนการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนั้น ได้แก่ การกระทำหรือแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาแล้วจะได้รับผลตอบแทนอะไร
การเรียนรู้ว่าพฤติกรรมใดทำให้เกิดผลกรรมเช่นใด ไม่จำเป็นต้องเกิดจากประสบการณ์ตรงเท่านั้น คนเราอาจเรียนรู้จากคำบอกเล่า คำสอนของผู้ใหญ่หรือผู้ที่ได้รับความเชื่อถือ เช่น บอกว่าเดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด จากคำบอกเล่านั้นเขาอาจเชื่อและปฏิบัติตามทั้งๆ ที่ยังไม่เคยประสบกับตัวเองก็ได้ และในภายหลังเขาอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง พฤติกรรมบางอย่างอาจมาจากความเชื่อที่เล่าสืบทอดต่อๆ กันมา และยังไม่เคยมีใครพิสูจน์ได้หรือไม่กล้าพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่ เช่น ถ้าใครตัดเศียรพระพุทธรูปจะได้รับภัยพิบัติในชีวิต เป็นต้น
การเห็นตัวแบบของพฤติกรรรมที่ผู้อื่นปฏิบัติและได้รับผลกรรม ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้และบางอย่างจะมีการเลียนแบบเอาอย่าง แต่บางพฤติกรรมเขาอาจไม่กล้าเลียนแบบ และถ้าพฤติกรรมนั้นๆ มีอยู่ในตัวเขา เขาอาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปก็ได้ กรณีเช่นนี้เราอาจเคยพบเห็นได้บ่อยๆ เช่น การเลียนแบบดาราภาพยนตร์ของทั้งเด็กและวัยรุ่น หรือการเลียนแบบบุคคลที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ส่วนตัวอย่างของการไม่กล้าเลียนแบบ เช่น ตัวอย่างของบุคคลที่มีพฤติกรรมเลว แล้วได้รับการลงโทษ การเชื่อใจคนโดยไม่มีเหตุผล การเป็นของบุคคลที่มีพฤติกรรมเลว แล้วได้รับการลงโทษ การเชื่อใจคนโดยไม่มีเหตุผล การเป็นคนชอบโกหกหลอกลวง ทำให้ตนได้รับเคราะห์กรรม ผู้เห็นด้วยตัวอย่างก็จะไม่กล้ากระทำเช่นนั้น
พฤติกรรมบางอย่างที่บุคคลแสดงออก อาจเกิดจากการตีค่าปรากฏการณ์ที่เขาพบและใช้พื้นฐานความคิดแห่งตน (The concept of self) ประเมินตนเองว่าควรจะมีปฏิกิริยาตอบต่อปรากฏการณ์นั้นอย่างไร เช่น เห็นเพื่อนหน้าบึ้งไม่ยอมพูดด้วย จากการที่ตนไปพูดจากับเขา เขาก็อาจตีความหมายเอาว่าเพื่อนโกรธจากคำพูดของเขา ดังนั้นเขาอาจแสดงการขอโทษ และเปลี่ยนแนวคำพูด
-บรรทัดฐาน(Social Norm)คือ ตัวกำหนดตามพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลในสังคม ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าในสถานการณ์นั้น ๆ บุคคลควรปฏิบัติเช่นใดบ้าง ซึ่งพฤติกรรมจะอยู่ในแนวเดียวกันคือไม่ทำความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ประกอบด้วย
1. วิถีประชา เป็นข้อตกลงของคนหมู่มากแลัวนำมาเป็นแนวปฏิบัติเปลี่ยนแปลงได้ง่ายถ้าทำผิดสังคมลงโทษไม่รุนแรง เช่น การไปงานศพใส่ชุดดำแต่ถ้าไม่ใส่ชุดดำผลที่ได้คือการถูกนินทา ถูกตำหนิทำให้รู้สึกอับอาย
2. จารีตประเพณี เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเพราะจะทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติมีบทลงโทษจากสังคมค่อนข้างรุนแรงและชัดเจน เช่น ลูกควรกตัญญูต่อพ่อแม่ การชิงสุกก่อนห่าม ห้ามผิดประเวณีลูกเมียคนอื่น
3. กฎหมาย เป็นสิ่งที่รัฐได้กำหนดให้บุคคลต้องปฏิบัติหรือไม่ให้ปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความ สงบสุขของประชาชน ถ้าทำผิดมีบทลงโทษที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
-สถานภาพ(Status)บุคคลทุกคนย่อมมีสถานภาพ เช่น เป็นลูก เป็นสามี หรือเป็น กิ๊ก กับสาวห้อง ก. ฯลฯ
สถานภาพ หมายถึง สิทธิและหน้าที่ที่บุคคลมีอยู่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและสังคม
บทบาท(Role) -พฤติกรรมที่ปฏิบัติตามสภานภาพ บทบาทเป็นพฤติกรรมที่สังคมกำหนดและคาดหมายให้บุคคลทำตามหน้าที่
การควบคุมทางสังคมมีจุดมุ่งหวังเพื่อ
- เพื่อให้ผู้คนยึดปฏิบัติตามบรรทัดฐานของกลุ่ม
- เพื่อให้สมาชิกแสดงบทบาทตามเงื่อนไข
- เพื่อให้สมาชิกกระทำกิจกรรมประสาน สัมพันธ์กันเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมาย
การลำดับชั้นยศทางสังคม
ชั้นยศ หมายถึง สถานภาพหรือตำแหน่งที่พิจารณาในแง่เกียติภูมิ เกียรติยศ อำนาจ สิทธิ และเอกสิทธิ์ที่บุคคลได้รับ


วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

สถาบันในครอบครัว

โครงสร้างสังคมและ สถาบันทางสังคม
ในการที่จะกล่าวถึงความหมายของโครงสร้างสังคมค่อนข้างจะเป็นนามธรรมจะขอยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เช่นโครงสร้างของบ้านที่เป็นที่อยู่อาศัย จะประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญๆ ที่ทำให้บ้านหลังนั้นสามารถอาศัยเป็นที่อยู่ได้ จะต้องมีพื้นบ้าน เสา ฝาบ้าน หลังคา ประตู หน้าต่าง สิ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้างที่สำคัญแต่อุปกรณ์ตกแต่ง ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องรับแขกเป็นรายละเอียดของแต่ละบ้าน ดังนั้นถ้าเราจะเปรียบเทียบกับโครงสร้างทางสังคมต้องมองถึงสิ่งสำคัญที่เป็นองค์ประกอบทำให้สังคมนั้นดำรงอยู่ได้ โดยไม่แตกสลายไป ซึ่งโครงสร้างสังคมมีส่วนประกอบสำคัญคือ
1. บุคคลจำนวนหนึ่งที่มีการติดต่อระหว่างกัน มีการกระทำทางสังคมร่วมกัน
2. กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนของความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่มสังคมนั้น
3. วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของสังคมเช่น ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ความปลอดภัย ในการอยู่ร่วมกัน
ในการศึกษาโครงสร้างสังคมสามารถดูส่วนประกอบต่างๆ จาก แผนภูมิ
โครงสร้างสังคมและสถาบันทางสังคม
1.สถาบันครอบครัว
2.สถาบันการเมืองการปกครอง
3.สถาบันเศรษฐกิจ
4.สถาบันการศึกษา
5.สถาบันศาสนา
6.สถาบันสื่อสารมวลชน
7.สถาบันนันทนาการ
องค์ประกอบของสังคม
1.สถานภาพของบุคคล
2.บทบาทหน้าที่ของบุคคล
3.แบบแผนพฤติกรรมที่เป็นมาตรฐาน
4.ศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม
สถาบันสังคม หมายถึง ระเบียบ แบบแผน ทั้งความคิดและการกระทำที่เป็นมาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม โดยที่สมาชิกของสังคมยอมรับและยึดถือปฏิบัติกันมา
ลักษณะของสถาบัน
1. เป็นกลุ่มของวิธีการปฏิบัติ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีบวชนาค กระบวนการศึกษา ( วิธีการปฏิบัติย่อยๆ เพียงอย่างเดียว เช่นการสอนให้อ่านหนังสือออกไม่เป็นสถาบัน)
2. มีการจัดระเบียบ มีการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบตามความสามารถของแต่ละบุคคลหรือองค์กร ตามบทบาทและสถานภาพ เช่น การจัดระบบการเรียนการสอน การประเมินผล
3. เป็นที่ยอมรับทั่วไป มีความมั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย
องค์ประกอบของสถาบัน
1. หน้าที่ที่แน่นอนชัดเจน ว่าสถาบันนั้นจะทำหน้าที่อะไรให้กับสังคม เช่น สถาบันครอบครัว ทำหน้าที่ผลิตสมาชิกใหม่ให้กับสังคม ดูแลถ่ายทอดกฎระเบียบให้กับสมาชิกใหม่
2. แบบแผนพฤติกรรมที่เป็นมาตรฐาน เป็นระเบียบแบบแผนที่ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย สมาชิกยอมรับปฏิบัติตาม เช่น ประเพณีการแต่งงาน การสู่ขอหมั้นหมายระหว่างชายกับหญิง
3. บุคคล ผู้รับผิดชอบเกี่ยวข้องกันตามสถานภาพและบทบาทที่สถาบันกำหนด
4. ศูนย์กลางในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม เช่น ตัวแทน อุปกรณ์
หน้าที่ของสถาบันสังคม
สถาบันสังคมเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างสังคม เพราะ เป็นแบบแผนของวิธีปฏิบัติ เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญของสังคม จึงมีหน้าที่ของสถาบันดังนี้ 2 ประการ คือ
1. หน้าที่เห็นชัดเจน เป็นหน้าที่ที่สามารถสังเกตเห็นได้ตรงๆ ทุกสถาบันมีหน้าที่ที่เห็นชัด 2 ประการคือ
1.1 ประกอบกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้นๆ เช่น สถาบันครอบครัว มีหน้าที่ในการเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตเป็นสมาชิกใหม่ของสังคม
1.2 ดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ภายในสถาบัน ให้สถาบันคงอยู่ เช่นสถาบันครอบครัว ต้องรักษาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ให้แตกแยก
2. หน้าที่แฝงหรือหน้าที่ซ่อนเร้น เป็นหน้าที่ที่ไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจน หรือไม่ใช่หน้าที่หลัก แต่ถือเป็นผลพลอยได้ เช่น สถาบันครอบครัว มีหน้าที่หลักในการเลี้ยงดูครอบครัว แต่การพยายามไม่ให้ครอบครัวแตกแยก ทำให้เกิดความสามัคคีกันในสังคมนั้นๆ ที่สถาบันครอบครัวทำหน้าที่โดยตรงได้สมบูรณ์
กล่าวโดยสรุป สังคมทุกสังคมมีโครงสร้างทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ประการ คือ สถาบันทางสังคมและการจัดระเบียบทางสังคม ส่วนประกอบ 2 ประการนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เพราะส่วนหนึ่งเป็นเรื่องตัวมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคม อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของแบบแผนการปฏิบัติของมนุษย์ที่อยู่รวมกันอยู่ในกลุ่ม กลุ่มมนุษย์จะดำรงอยู่อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ได้ หากขาดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้ แต่ระเบียบแผนก็ไม่จำเป็นต้องมีหากไม่มีกลุ่มคน ดังนั้น โครงสร้างสองส่วนจึงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ประเภทของสถาบันสังคม ที่สำคัญ ๆ ในสังคมมีดังนี้
1.สถาบันครอบครัว มีหน้าที่เกี่ยวกับ การให้กำเนิดบุตร สืบทอดสมาชิกใหม่ของสังคม เลี้ยงดู อบรมสั่งสอนกฎระเบียบให้แก่สมาชิกใหม่นั้น
2. สถาบันการศึกษา มีหน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและขัดเกลาทางสังคม
3. สถาบันการเศรษฐกิจ มีหน้าที่เกี่ยวกับการผลิตและจำแนกแจกจ่ายผลผลิต สินค้าและบริการ ให้แก่สมาชิกในสังคมอย่างยุติธรรม
4. สถาบันศาสนา มีหน้าที่เกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ให้อยู่เป็นสุขไม่เบียดเบียนกันและกัน
5. สถาบันการเมืองการปกครอง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมและป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก
6. สถาบันนันทนาการ มีหน้าที่ในการบำรุงรักษา เสริมสร้างสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของสมาชิก
7. สถาบันสื่อสารมวลชน มีหน้าที่ให้ความรู้ ข่าวสารเรื่องราวของเหตุการณ์ต่างๆ
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันเก่าแก่และสถาบันแรกที่มนุษย์สัมผัส ความหมายกว้างๆของสถาบันครอบครัว"ระบบของวิธีปฏิบัติและบรรทัดฐานที่ยอมรับของหน่วยสังคมที่ผูกพันเข้าด้วยกันโดยการสมรส สืบเชื้อสายการรับบุตรบุญธรรม เพื่อรับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรและสนองความต้องการบางประการของมนุษย์
ประเภทของครอบครัว
1. ครอบครัวเดี่ยว (The Nuclear or Elementary Family) ครอบครัวประกอบด้วยคู่สมรสเพียงคู่เดียวคือ พ่อ+ แม่ และลูก แต่ในสังคมไทยบางครอบครัวต้องเลี้ยงบิดามารดาของฝ่ายภรรยาหรือสามีนอกจากนั้นบางครอบครัวจะมีพี่หรือน้องของสามีภรรยาที่ยังโสดมาอาศัยอยู่ด้วย แต่อำนาจของหัวหน้าครอบ อาจอยู่ที่สามีหรือภรรยา ญาติที่มาอาศัยอยู่มีฐานะเพียงผู้อาศัยเท่านั้น มิได้ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญ
2. ครอบครัวขยาย (The Extended Family ) ครอบครัวเดี่ยว 2 ครอบครัวมาอยู่รวมกันเป็นครอบครัวขนาดใหญ่อาจมีลุงป้าน้าอาลูกพี่ลูกน้อง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายและหลาน การสืบเชื้อสายหรือการนับญาติจะนับถือเป็นสายเดียวต่างจากครอบครัวเดี่ยวตรงที่ อำนาจการตัดสินใจปัญหาต่างๆของครอบครัวมิได้อยู่ที่พ่อหรือแม่ หรือสองคนปรึกษาหารือกันแต่มีผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในนามของครอบครัวจะได้แก่ญาติผู้ใหญ่ที่อาวุโส แบ่งเป็น
2.1 การสืบเชื้อสายฝ่ายบิดา (Patrilinear) ผู้มีอำนาจสูงสุดคือทวด ปู่ หรือชายที่อาวุโสสูงสุด เช่น ครอบครัวคนจีน
2.2 การสืบเชื้อสายฝ่ายมารดา (Matrilinear) ผู้มีอำนาจสูงสุดคือญาติที่อาวุโสทางฝ่ายหญิง ได้แก่ พี่ชาย หรือน้องชายของหญิงอาวุโสนั้น
3. ครอบครัวรวม (The Composite or Polygamous Family) เป็นครอบครัวที่มีคู่สมรสได้มากกว่าหนึ่งคน แล้วครอบครัวนั้นอยู่ร่วมกัน เช่น ครอบครัวชาวมุสลิม ครอบครัวรวมนี้ต่างจากครอบครัวขยายมารวมกัน นอกจากนี้การสลายตัวของครอบครัวรวมนี้เป็นไปได้ง่ายกว่าครอบครัวขยาย กล่าวคือ สามีหรือหัวหน้าครอบครัวล้มตายลงครอบครัวก็จะสลายตัวลงคู่ครองที่เหลือแต่ลูก ๆของตน ก็จะแยกตัวออกจากกันไปอยู่ตามลำพัง (ดังรูป)
ประเภทของการสมรส
1. ผัวเดียวเมียเดียว (Monogamous) กำหนดให้ชาย-หญิงมีคู่สมรสเพียง
2. มากผัวมากเมีย (Polygamous) ชาย-หญิงมีคู่สมรสได้มากกว่าหนึ่งแบ่งเป็น
ประเภทที่อยู่อาศัยหลังการสมรส
1. ตั้งถิ่นฐานตามฝ่ายชาย (Patrilocal) เช่น ชาวจีน
2. ตั้งถิ่นฐานตามฝ่ายหญิง (Matrilocal) เช่น ชาวอิสาน
3. ตั้งถิ่นฐานใหม่แยกมาอยู่อิสระ (Neolocal) เช่น สังคมเมือง สังคมตะวันตก
ประเภทของระบบเครือญาติ
1. ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต และความสัมพันธ์จากการสมรส
1.1 เครือญาติจากสายโลหิต (Consanguineous kinship) เช่น ลุง ป้า น้า อา
1.2 เครือญาติที่เกิดจากการสมรส (Conjugal kinship) เช่น พี่เขย พี่สะใภ้ น้องเขย น้องสะใภ้ พ่อตา แม่ยาย พ่อผัว แม่ผัว
2. การจัดลำดับความสำคัญของญาติ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
2.1 การนับถือญาติพี่น้องเฉพาะทางฝ่ายมารดา (Matrilineal)
2.2 การนับถือญาติพี่น้องเฉพาะทางฝ่ายบิดา (Patrilineal)
2.3 การนับถือญาติทั้งสองฝ่ายควบคู่กันไป (Bilateral)
3. อำนาจของสมาชิกในครอบครัว แบ่งเป็น 3 แบบ
3.1 หญิงเป็นใหญ่ในครอบครัว (Matriarchal)
3.2 ชายเป็นใหญ่ในครอบครัว (Patriarchal)
3.3 ชายและหญิงมีอำนาจเท่า ๆ กัน (Equalitarian)
องค์ประกอบของครอบครัว
1. ตำแหน่งทางสังคม มีพ่อ แม่ ภรรยา สามี ลูก พี่น้อง และญาติ
2. หน้าที่ ครอบครัวมีหน้าที่หลายอย่าง เช่นเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี เป็นการเตรียมตัวให้เด็กออกไปเผชิญชีวิตที่พ้นไปจากบ้าน
3. แบบแผนของการปฏิบัติ เป็นแบบแผนในความสัมพันธ์หรือการปฏิบัติต่อกัน สำหรับในครอบครัว จะเป็นความผูกพันอย่างลึกซึ้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยสามี ภรรยา ห่วงใยซึ่งกันและกัน พ่อแม่เลี้ยงดูลูกด้วยความรัก ความห่วงใยลูกไม่มีขอบเขต ลูกต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่ด้วยความห่วงใย
4. ศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม บ้านหรือเรียกว่าเรือนหอ สินสอดทองหมั้น ชุดวิวาห์ มรดก
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว
1. การสร้างสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม
2. อบรมเลี้ยงดูสมาชิกใหม่และขัดเกลาสมาชิกสังคมให้รู้จักกฎระเบียบทางสังคม
3. กำหนดตำแหน่งทางสังคม เช่น ฐานะบทบาทของพ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง
4. ให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัว ตลอดจนบำบัดความต้องการทางเพศ
2. สถาบันการศึกษา การศึกษาในฐานะที่เป็นสถาบันสังคม หมายถึง ชุดของวิถีปฏิบัติในการถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมจากช่วงอายุหนึ่งไปอีกช่วงอายุหนึ่งซึ่งทำให้สังคมดำรงอยู่ได้มีลักษณะสำคัญคือเป็นขบวนการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาบุคคลและมีการจัดให้บุคคลได้รับกระบวนการทางสังคมโดยให้ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมที่จัดให้และมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมนั้น องค์กรทางการศึกษา ได้แก่ วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย
การเรียน หมายถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่บุคคลได้รับในการเสริมสร้างและปรับปรุง ทัศนคติและความประพฤติตั้งแต่เกิดจนตาย
การศึกษา เป็นเรื่องความพยายามของบุคคลที่จะกำหนดแนวทางของวิวัฒนาการให้สอดคล้องกับอุดมคติในชีวิตของตนรวมทั้งวิธีการที่จะสร้างทัศนคติแบบของความประพฤติ เช่นการเรียนรู้จากบิดา-มารดา ญาติพี่น้องและคนอื่นๆภายในครอบครัว ตลอดจนการสั่งสอนอย่างเป็นทางการจาก วัด โรงเรียนและมหาวิทยาลัย และการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการซึ่งได้จากสังคมและการประกอบอาชีพ
การศึกษาจึงไม่ได้หมายความถึงแค่ไปโรงเรียนเท่านั้นแต่มีความหมายครอบคลุมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดรวมทั้งความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นซึ่งนักการศึกษาในปัจจุบันอ้างเสมอว่าการศึกษาหมายถึง ความเจริญทางปัญญา สังคม อารมณ์จิตใจ และพลานามัยด้วยเหตุนี้ สังคมที่เจริญจึงมีสถาบันที่รับผิดชอบแทนครอบครัวซึ่งได้แก่ โรงเรียน การศึกษาจึงถูกเพ่งเล็งให้เป็นการไปโรงเรียนจนกระทั่งในที่สุดสังคมก็โยนความรับผิดชอบต่างๆเกี่ยวกับความเจริญของเด็กให้แก่โรงเรียนเกือบทั้งสิ้นซึ่งข้อนี้ไม่เป็นผลดีเพราะครอบครัวควรจะเป็นหลักการอบรมให้กับเด็กมากกว่าเพราะในชีวิตของคนหนึ่งๆถ้ามีอายุ 60 ปี จะใช้เวลาเรียน 4-6 ปี และคนส่วนน้อยจะใช้เวลาศึกษาถึง 12 ปีขึ้นไปแต่ก็ไม่เกิน 20 ปี ในช่วงเวลานั้นก็ใช้เวลาอยู่ในโรงเรียน 1 ใน 4 ของเวลาเต็ม ส่วนเวลาที่เหลือเป็นเวลาที่เรียนจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อม เมื่อบุคคลมีประสบการณ์จากโรงเรียนเป็นหลัก บวกกับที่ได้จากประสบการณ์ของตนเองและได้จากสื่อสารมวลชน ก็นำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในทางที่สังคมยอมรับซึ่งเท่ากับเป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการและเป็นการศึกษานอกสถาบัน ดังนั้นการศึกษาจึงมีความหมายกว้างไกลกว่าการเรียนหนังสือและการไปโรงเรียน
สรุป การศึกษาคือ การสร้างสมและการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ของมนุษย์ เพื่อการแก้ปัญหาและยังให้เกิดความเจริญ การศึกษาจำเป็นต้องมีลักษณะต่อเนื่อง และต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบการศึกษาอยู่เสมอการศึกษามีความหมายกว้างไกลและลึกกว่าการเรียนหนังสือและการไปโรงเรียนการศึกษาก่อให้เกิดความเจริญทางพุทธิปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคมและพลานามัย การศึกษาดำเนินอยู่เป็นล่ำเป็นสันในสถานศึกษาการศึกษาไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อหาวิชาแต่เป็นการเรียนให้เกิดความคิด การศึกษาเป็นการโน้มน้าวทำให้บุคคลเกิดความประจักษ์ใจและพัฒนาความสามารถของตนให้รู้ว่า ตนทำอะไรได้มากกว่าการฝึกอาชีพเฉพาะอย่าง
ลักษณะการจัดการศึกษา ในสังคมอาจแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1. การศึกษาอย่างเป็นทางการ ( formal education ) หมายถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนซึ่งมีการจัดทำแผนการศึกษาไว้แน่นอนมีระบบการบริหาร การกำหนดวัตถุประสงค์การศึกษา หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน ระยะเวลา การวัดผล ตลอดจนการกำหนดกฎเกณฑ์อื่นๆ รวมทั้งคุณสมบัติผู้เรียนผู้สอนและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไปการศึกษาในระบบโรงเรียนจะแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ระดับอนุบาลเป็นการขยายการเรียนรู้จากบ้านเป็นระดับที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก ระดับประถมศึกษาเป็นระดับที่สอนให้เด็กรู้จักอ่าน คิด เขียนและเรียนความรู้พื้นฐานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ระดับมัธยมศึกษาเป็นการเรียนรู้วิชาที่มีเนื้อหาซับซ้อนขึ้น แยกย่อยมากขึ้นและอาจจะมีวิชาชีพประกอบอยู่ด้วย ส่วนระดับอุดมศึกษาเป็นการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพชั้นสูง การกำหนดจำนวนปีในแต่ละระดับแตกต่างกันไปตามสภาพสังคมนั้นๆ และในแต่ละสังคมมักจะกำหนดการศึกษาภาคบังคับ ( compulsory education ) โดยให้สมาชิกทุกคนได้รับการศึกษาเท่าเทียมกันในระดับหนึ่ง สำหรับสังคมไทย ได้ปรับการศึกษาภาคบังคับเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น 12 ปี ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี 2542
2. การศึกษาแบบไม่เป็นทางการ ( informal education ) หมายถึงการศึกษาแบบไม่มีระบบเป็นการเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์ จากสิ่งแวดล้อม จากการติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้อื่น ซึ่งไม่มีหลักสูตร ไม่มีแบบแผนอะไร เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่มีใครเป็นครูเป็นนักเรียนที่แน่นอน เพราะทุกคนต่างเรียนรู้จากคนอื่นและให้อิทธิพลต่อการเรียนรู้ของคนอื่นเช่นกัน เช่นการเรียนรู้จากครอบครัว เพื่อน สื่อมวลชน เป็นต้น
3. การศึกษานอกระบบ ( non – formal education ) หมายถึงการศึกษาที่จัดขึ้นนอกเหนือจากการเรียนในระบบโรงเรียนตามปกติ ซึ่งอาจจะมีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ แต่มีลักษณะไม่เคร่งคัดเท่าการศึกษาในระบบโรงเรียน สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและมีขอบเขตกว้างขวางมาก ครอบคลุมกิจกรรมทุกอย่างที่อยู่นอกโรงเรียน จัดบริการเพื่อคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา การศึกษาที่จัดทำขึ้นมีได้หลายลักษณะ เช่น การจัดการศึกษาผู้ใหญ่ การจัดศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน การฝึกฝนอาชีพ การฝึกอบรมระยะสั้น การเสนอบทเรียนทางวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น
องค์ประกอบของสถาบันการศึกษา
1. ตำแหน่งทางสังคม ตำแหน่งต่างๆ เช่น ครู อาจารย์ วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักค้นคว้าวิจัยฝ่ายเจ้าหน้าที่ธุรการ นักเรียน นักศึกษา นิสิต ผู้รับการฝึกอบรม เป็นต้น
2. หน้าที่ หน้าที่หลักก็คือการถ่ายทอดความรู้ กฎเกณฑ์ ระเบียบ แบบแผนทั่วไปของสังคมให้การสนับสนุนสมาชิกของสังคมให้มีกำลังกายและกำลังใจความคิดหรือการใช้สติปัญญาให้เป็นประโยชน์หรือให้มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมฝึกฝนสมาชิกให้มีความชำนาญในด้านอาชีพเพื่อจะได้มีความรู้ในการยึดเป็นอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง
3. แบบแผนการปฏิบัติ แบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนจึงมีทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น ในระดับอนุบาลครูมักจะทำตัวเหมือนพ่อแม่ของเด็กและให้ความใกล้ชิดสนิทสนม การวัดผลก็ไม่เคร่งคัดมากนักแต่ระดับสูงขึ้นไปเช่นมหาวิทยาลัย ผู้เรียนและผู้สอนจะมีความห่างเหินมากกว่าในขั้นอนุบาลหรือเป็นแบบทุติภูมิคืออาจารย์กับลูกศิษย์ไม่ค่อยจะใกล้ชิดกัน อาจารย์จะไม่ค่อยได้เอาใจใส่เรื่องทุกข์สุขหรือเรื่องส่วนตัวของนิสิตนักศึกษาเพราะส่วนมากจะเกี่ยวข้องกันเฉพาะด้านการสอนเท่านั้นหรือเวลาวัดผลการศึกษา ก็จะใช้หลักเกณฑ์การวัดผลอย่างเคร่งคัด
ส่วนเรื่องตัวครูผู้สอนกับนักเรียนและอาจารย์กับนักศึกษาก็มีบรรทัดฐานกฎเกณฑ์เป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น ครูต้องมีความรู้ขยันขันแข็งในการสอนการแต่งตำราหรือเขียนบทความทางวิชาการ หรือทำการวิจัยเรื่องน่ารู้ต่างๆ เป็นต้น ส่วนตัวนักเรียนนักศึกษาก็ต้องขยันขันแข็ง ไม่ขาดเรียน เข้าห้องสมุดศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเป็นต้น และสัญลักษณ์ด้านการศึกษาก็จะออกมาในรูปของปริญญา ประกาศนียบัตรหนังสือ อุปกรณ์การสอนโรงเรียน และสถานศึกษา เป็นต้น
4. ศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
หน้าที่ของสถาบันการศึกษา
1. ให้ความรู้ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เพื่อเป็นรากฐานให้บุคคลพัฒนาสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิดในทางที่ดี
2. พัฒนาคนให้บุคคลมีคุณธรรม จริยธรรม
3. สอนและฝึกวิชาชีพให้กับบุคคลในสาขาต่างๆ
4. ให้บุคคลได้มีความรักและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม
5. เป็นแหล่งความรู้และวิทยาการที่เอื้ออำนวยต่อชุมชนและสังคมโดยส่วนรวม
3. สถาบันศาสนา ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม หมายถึง ระเบียบแบบแผนในด้านความเชื่อศรัทธาอันเกี่ยวกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์รวมทั้งกฎเกณฑ์ความประพฤติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกในสังคมเป็นคนดีทำให้มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เป็นที่พึ่งทางใจ
สถาบันศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และก่อให้เกิดแบบแห่งความประพฤติ ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ความเชื่อ ศาสนาทุกศาสนาต้องการให้บุคคลมีความเชื่อและความศรัทธาในคำสอน อย่างไรก็ตามศาสนาพุทธถือว่า เหตุและผลการพิสูจน์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สนับสนุนความเชื่อ แต่ศาสนาสำคัญอื่นๆมักจะเน้นความเชื่อที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติของจักรวาลและความเชื่อแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
2. ความรู้สึกทางใจ ความเชื่อทางศาสนาที่ถือกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มักเกี่ยวพันกับอารมณ์ที่สำคัญ เช่น ความกลัวความหวาดหวั่น ความเคารพ ความรัก ความถ่อมตนหรืออารมณ์อื่นๆความรู้สึกทางอารมณ์จะเป็นลักษณะใดขึ้นอยู่กับว่าศาสนานั้นได้สอนอย่างไรด้วยรวมตลอดทั้งหลักความเชื่อและคุณค่าที่ศาสนานั้นได้ยึดถือเป็นที่น่าสังเกตว่าอารมณ์เหล่านี้แต่ละศาสนาได้มีส่วนสร้างขึ้นและมีลักษณะที่แตกต่างกันไป จะวัดว่าของใครสูงหรือต่ำกว่าของใครไม่ได้
ลักษณะสถาบันศาสนา เป็นความเชื่อและศรัทธาจากลัทธิต่างๆมีพิธีกรรมต่างๆอันเป็นพฤติกรรมที่บัญญัติไว้สืบเนื่องกับสิ่งสักการะในทางศาสนามีลักษณะของอารมณ์ความรู้สึกอันเกิดความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและพิธีกรรม เช่น ความกลัว ความเคารพ มีการปฏิบัติทางศาสนา เช่น การไปโบสถ์ ไปวัดมีสัญลักษณ์ เช่น พระพุทธรูป พระพรหม ไม้กางเขน
สถาบันศาสนาทำหน้าที่เสมือนเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมทางสังคมเพื่อให้เกิดความประพฤติและพฤติกรรมอันถูกต้อง เพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เช่น คำสอนหรือกฎเกณฑ์ทางศาสนาที่สอนมิให้มีการประพฤติชั่ว หรือเบียดเบียนกันระหว่างสัตว์โลก
องค์ประกอบของสถาบันศาสนา
1.ตำแหน่งทางสังคม ในสถาบันศาสนาได้แก่ ศาสดา หรือผู้สืบต่อศาสนา เช่น พระพุทธเจ้า พระเยซู นะบีมะหะหมัด พระสงฆ์ บาทหลวง โต๊ะครู(ดาโต๊ะยุติธรรม)สามเณร แม่ชี ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ผู้บริหารและบริการ เช่น สมภารวัด ผู้ดูแลวัดพระครู เจ้าคุณ ลูกศิษย์วัด เป็นต้น
2.หน้าที่ หน้าที่หลักของศาสนาคือสร้างความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน โดยสถาบันนี้จะสอนและส่งเสริมหลักศีลธรรมอันดีงามแก่สมาชิกให้รู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด รู้จักบุญและบาป ให้รู้จักประกอบอาชีพด้วยความสุจริต รู้จักประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร ให้อยู่ในศีลธรรมอันดี และรู้จักสร้างสมความดี เป็นต้น ศาสนามีประโยชน์ต่อมนุษย์ เพราะเป็นเรื่องของความต้องการทางด้านจิตใจ ต้องการมีสิ่งยึดเหนี่ยว เพื่อเป็นเป้าหมายในการกระทำต่างๆ ถ้าศาสนาทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เท่ากับเป็นการควบคุมทางสังคมอย่างหนึ่ง
3. แบบแผนการปฏิบัติ สถาบันศาสนาจะให้แนวทางแบบแผนความประพฤติที่ถูกต้องดีงามโดยจะให้แนวทางในการปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นเช่นรู้จักเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว มีจิตใจเมตตากรุณา ซื่อสัตย์สุจริตมีความละอายต่อบาปทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาจะให้แนวทางการปฏิบัติ เช่น รู้จักปฏิบัติตนในศาสนพิธีต่างๆ อย่างถูกต้อง เป็นต้น
4. ศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม วัด โบสถ์ มัสยิด
หน้าที่ของสถาบันศาสนา
1. สนองความต้องการส่วนบุคคลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางจิตใจ มีสิ่งยึดเหนี่ยว คลายความเครียด
2. ช่วยควบคุมสังคมโดยให้ยอมรับความเชื่อ ปลูกฝังความศรัทธา ยอมปฏิบัติตามบรรทัดฐาน ช่วยให้เกิดความเป็นปึกแผ่นในสังคม ก่อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มที่นับถือศาสนาร่วมกัน
4. สถาบันการปกครองในฐานะที่เป็นสถาบัน หมายถึง ระบบของวิถีปฏิบัติที่ใช้อำนาจบังคับโดยตรงหรือโดยทางอ้อมแก่สมาชิกของสังคม ให้กระทำสิ่งที่สังคมเรียกว่ากฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ สถาบันการเมืองการปกครองถือว่าสำคัญมาก เพราะธรรมชาติของมนุษย์มีจุดอ่อนและไม่สมบูรณ์ในตัวเอง มีการเอาเปรียบเห็นแก่ตัวต่อสู่แข่งขันและมักจะละเมิดบรรทัดฐาน ดังนั้นการปกครองจึงช่วยประสานงานกำหนดนโยบายหลักประกันในการคุ้มครองสมาชิกในสังคม
อำนาจ หมายถึง ลักษณะความสัมพันธ์ของบุคคล อำนาจย่อมเกิดเมื่อคนหนึ่งสามารถทำในสิ่งที่เขาสามารถจะกำหนดพฤติกรรมของผู้อื่นได้เช่น ครูสั่งงานนักเรียน แม่ห้ามลูกกินลูกอม ดังนั้นอำนาจเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้บังคับให้ผู้อื่นกระทำตาม การใช้อำนาจนั้นต้องผ่านอำนาจการปกครองซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย หรือเป็นอำนาจอันชอบธรรมและมีการพิจารณาตัดสินใจของบุคคลที่มีอำนาจสั่งการต่าง ๆ ตามตำแหน่งที่มีอยู่ในระบบการปกครองนั้น
องค์ประกอบของสถาบันการปกครอง
1. ตำแหน่งทางการเมือง สถาบันการเมืองการปกครองอาจแบ่งได้เป็น 3 ฝ่ายคือ
1) ฝ่ายบริหาร มีตำแหน่งต่างๆ เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี หัวหน้ากอง หัวหน้าแผนก ฯลฯ
2) ฝ่ายนิติบัญญัติ มีตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสภาจังหวัด ฯลฯ
3) ฝ่ายตุลาการ มีตำแหน่งเช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ
2. หน้าที่ แบ่งตามฝ่ายต่างๆ ดังนี้
2. 1) ฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ทะนุบำรุงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคมให้เจริญก้าวหน้ารักษาความสงบภายใน
2.2) ฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ออกกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพสังคมให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎร หรือผู้เกี่ยวข้อง ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
2.3) ฝ่ายตุลาการ มีหน้าทีพิจารณาคดีต่างๆ ที่เกิดจากกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกไปให้ฝ่ายบริหารนำไปบังคับใช้แล้วเกิดปัญหาโดยการพิจารณาตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดระเบียบแบบแผนของสังคม หรือกฎหมายบ้านเมือง เพื่อป้องกันมิให้กระทำผิดอีก
3. แบบแผนการปฏิบัติ สถาบันการเมืองการปกครองจะกำหนดแบบการปฏิบัติหรือความสัมพันธ์ระหว่างราษฎรกับรัฐหรือระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ เช่น ราษฎรต้องจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เสียภาษี ออกเสียงเลือกตั้ง เคารพกฎหมาย ฯลฯ
4. ศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม รัฐสภา ที่ทำการพรรคการเมือง
หน้าที่ของสถาบันการปกครอง
1.ป้องกันและระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล เพราะสมาชิกแต่ละคนมีเป้าหมายต่างกันอาจขัดแย้งกัน
2. คุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัยพ้นการละเมิดใด ๆ โดยใช้กฎหมาย หรือ ตำรวจ ศาล
3. รักษาความสงบเรียบร้อยแก่สังคม โดยบัญญัติกฎหมายให้สมาชิกปฏิบัติตาม
4.วางแผนและปรับสภาพสังคมให้อยู่อย่างสงบสุข แม้สังคมจะเปลี่ยนแปลง กฎหมายก็ปรับเข้าได้ กับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
5. สถาบันเศรษฐกิจสถาบันเศรษฐกิจมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างยิ่งเพราะความต้องการทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้สถาบันเศรษฐกิจเป็นสถาบันที่กล่าวถึงวิธีการอยู่รอดของมนุษย์ในด้านต่างๆตั้งแต่ด้านการผลิตของกินของใช้ การแลกเปลี่ยน หรือการแบ่งสันปันส่วนรวมทั้งการให้บริการต่างๆระหว่างสมาชิกของสังคม สถาบันนี้เป็นเครื่องมือที่ดีในการลดปริมาณการต่อสู้ทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาวะที่ทรัพยากรและการผลิตของมนุษย์อยู่ในวงจำกัดประกอบกับมนุษย์มีความต้องการทางด้านวัตถุมากขึ้นมนุษย์จึงต้องหาวิธีบางอย่างเพื่อให้ความต้องการของตนได้บรรลุผล โดยมนุษย์ได้ใช้วิธีการทางเศรษฐกิจเพื่อสนองความต้องการของตนตั้งแต่ระยะแรกๆในประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน เช่น การหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ ตกปลา ทำนาแลกเปลี่ยน ค้าขาย และการอุตสาหกรรม เป็นต้น
สถาบันเศรษฐกิจ เศรษฐกิจในฐานะที่เป็นสถาบันสังคม หมายถึง แบบแผนของการคิดและวิธีปฏิบัติทางด้านการผลิต การแจกจ่าย แบ่งปันผลผลิตให้กับสมาชิกในสังคม เช่น อาชีพ เงินตรา ทรัพย์สิน ลักษณะของสถาบันเศรษฐกิจของแต่ละสังคมขึ้นอยู่กับระบอบการเมืองการปกครองในสังคมระบอบประชาธิปไตยบุคคลมีเสรีภาพสูง ทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค สถาบันเศรษฐกิจจึงเป็นแบบแผนในการคิดการกระทำเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของสมาชิกในสังคมและเป็นสิ่งที่สังคมจะขาดเสียมิได้
ลักษณะของสถาบันทางเศรษฐกิจที่สำคัญ หากจะพิจารณาในรายละเอียด สถาบันทางเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้ คือ
1. ทรัพย์สิน เป็นสถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่ยาก เป็นสิ่งมีค่าและเปลี่ยนมือได้ สิ่งของซึ่งอาจจะถือกรรมสิทธิ์ได้นี้อาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น เสื้อผ้า หรืออสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ชื่อเสียง ผลผลิตจากความคิดของตน
2. สัญญา เป็นสถาบันทางเศรษฐกิจที่ช่วยให้ทรัพย์สินสามารถเปลี่ยนมือกันได้อย่างเป็นระเบียบและเป็นหลักฐาน โดยทั่วไปสัญญาเป็นการแลกเปลี่ยนคำมั่นสัญญา หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างทรัพย์สินกับเงินสัญญาอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ บางครั้งสัญญาหรือข้อตกลงนี้ก็เป็นสิ่งที่ง่ายและสามารถเข้าใจได้ในตัวเอง เช่น เมื่อแม่ค้าหยิบแหวนส่งให้ลูกค้าหนึ่งวง แม่ค้าผู้นั้นก็มีความคาดหวังว่าผู้ซื้อจะต้องให้เงินค่าแหวนนั้นทันที ความเข้าใจเช่นนี้เกิดขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นเสมือนข้อตกลงหรือสัญญาซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วในตัว
3. อาชีพ เป็นสถาบันทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะกำหนดบทบาททางเศรษฐกิจของประชาชนมีสาระสำคัญดังนี้ คือ
3.1 กำหนดการคาดหวังอาชีพต่างๆ จากอาชีพหนึ่งจะก่อให้เกิดงานหรือการกระทำในลักษณะใด โดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นที่รับรู้กัน เช่น อาชีพครูในชุมชนมาก คนชุมชนนั้นมีความรู้มากด้วย
3.2 กำหนดภาระกิจเกี่ยวกับอาชีพเหล่านั้นรวมตลอดทั้งความชำนาญความรับผิดชอบ และบทบาทของอาชีพต่างๆ เช่น บุคคลซึ่งมีอาชีพเป็นแพทย์ต้องมีภาระในการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยให้ดีที่สุด เลขานุการเมื่อเข้ารับตำแหน่งก็จะต้องมีการคำมั่นสัญญาหรือรู้คำมั่นสัญญาเกี่ยวกับความรับผิดชอบของตน ว่าจะต้องจดคำบอกให้ถูกต้อง พิมพ์ดีดได้ รับโทรศัพท์และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บังคับบัญชาได้ถูกต้อง
4. การแลกเปลี่ยน การแลกเปลี่ยนเป็นสถาบันเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นตามธรรมชาติทั้งสิ้นเพราะบุคคลย่อมปรารถนาผลผลิตจากอาชีพต่างๆกันคือผู้ผลิตของอย่างหนึ่งอาจจะต้องการสิ่งผลิตอันเป็นผลผลิตของบุคคลอื่นประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้ดังนั้นจึงต้องมีข้อตกลงกันว่าควรจะแลกเปลี่ยนกันอย่างไร สำหรับสังคมยุคใหม่ ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนโดยใช้สื่อ คือ มีการใช้เงินเพื่อเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนและตัวเงินนั้นเองก็เป็นมาตรฐานแห่งค่าหรือมูลค่าดังนั้นมูลค่าของการแลกเปลี่ยนจึงแสดงออกมาในรูปของเงินตรา ทำให้เกิดความสะดวกในการดำรงชีพในสังคม
5. ตลาด ตลาดเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งมีส่วนประสาน อาชีพ ทรัพย์สิน และสัญญา เข้าด้วยกัน จนกระทั่งสามารถทำให้การแลกเปลี่ยน เป็นไปได้โดยสะดวก ตลาดมีหน้าที่และบทบาทที่เป็นคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ในทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก คือ
5.1 ทำให้ผู้ผลิตสินค้าหรือผู้ให้บริการสามารถพบปะผู้ซึ่งต้องการสินค้าและบริการเหล่านั้น
5.2 ตลาดเป็นแหล่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และในรูปแบบอย่างง่าย เช่น แหล่งชุมชนที่มีผู้ขายและผู้ซื้อซึ่งอาจจะกระทำกันในลักษณะของการติดต่อโดยตรงหรือการติดต่อกันโดยทางอื่น เช่น ในทางเอกสารหรือการใช้อุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ ทางอินเตอร์เนทและ เวปไซด์ต่างๆ
โดยปกติแล้วราคาของสิ่งของในตลาด ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างการเสนอและการสนอง ถ้าการเสนอสูงราคาของสินค้าก็จะมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นด้วย ในทำนองเดียวกัน ราคาของสินค้าจะสูงขึ้นอยู่กับปริมาณของการสนองด้วย
องค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจ
1. ตำแหน่งทางสังคม เช่น ชาวนา ชาวไร่ พ่อค้า แม่ค้า ข้าราชการ นายทุน นักอุตสาหกรรม
ผู้บริหาร ลูกจ้าง ผู้จัดการ
2. หน้าที่ หน้าที่สำคัญทางเศรษฐกิจ คือ บำบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่นการแบ่งปันวัตถุดิบ หรือบริการที่มนุษย์ต้องการและให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่นระบบเงินเชื่อมีเงินตราในการแลกเปลี่ยน
3. แบบแผนการปฏิบัติ จะแตกต่างกันไปตามขนาดของกลุ่มเช่นเกษตรกรรม ร้านค้าขนาดเล็กจะมีความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นส่วนตัว แต่ถ้าเป็นกลุ่มใหญ่ความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ ผูกพันกันด้วยลายลักษณ์อักษร
4. ศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม บริษัท ร้านค้า ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงงาน ไร่นา
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
1.หน้าที่ในการผลิตและแจกแจงผลผลิตให้แก่สมาชิกสังคมให้เกิดความเสมอภาคและยุติธรรมตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้ ทำให้สังคมก้าวหน้า
2. พัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
3.ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเช่น ระบบเงินเชื่อ การใช้เงินตรา จัดให้มีการแบ่งงาน ตลาด ระบบผลกำไร ค่าจ้างและดอกเบี้ย
4. ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างพอเพียงและทั่วถึงให้มากที่สุด
6. สถาบันสื่อสารมวลชน
สถาบันสื่อสารมวลชน เป็นระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการสื่อข่าวสารและความรู้ความคิดในหมู่สมาชิกของสังคม แบบแผนเหล่านี้ย่อมอาศัยภาษาของสังคมเป็นสื่อกลาง เช่น ในสังคมไทยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายกันในหมู่คนไทยสื่อในการส่งข่าวสารหรือความรู้ความคิดมีหลายรูปแบบ เช่นด้วยการพูดการเขียน หรือการส่งผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ เป็นต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้แก่ ระเบียบแบบแผนในการส่งข่าวสารและความรู้จากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแหน่งหนึ่ง ซึ่งอาจทำได้หลายทาง เช่น ทางหนังสือ ทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ เป็นต้น
สถาบันสื่อสารมวลชน ในฐานะสถาบัน หมายถึง วิธี ตัวแทน และเครื่องมือที่สื่อความหมายในเรื่องความคิด เจตคติ ความประทับใจ และภาพพจน์ต่อคนจำนวนมาก ลักษณะของสื่อสารมวลชนมีทั้งรูปแบบเด่นชัด เช่น วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ผ่านระบบอินเตอร์เนท กับรูปแบบที่ไม่เด่นชัด เช่นป้ายโฆษณา ดนตรี เสื้อผ้า
สถาบันนี้มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และความเจริญก้าวหน้าของสังคมสมัยใหม่มากโดยเฉพาะในสังคมที่เจริญก้าวหน้าสื่อมวลชนจะแผ่ขยายและอิทธิพลต่อครอบครัว ทำให้บุคคลได้รับค่านิยมและวิธีการปฏิบัติทั้งในด้านบวกและด้านลบมากขึ้นโดยเฉพาะอิทธิพลของสื่อมวลชนที่สำคัญคือการให้ข่าวสาร ข่าวสารเหล่านี้มักจะเป็นลายลักษณ์อักษรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นผู้เขียน บรรณาธิการและผู้จัดทำมักจะร่วมกับครูกลุ่มเพื่อนและครอบครัวในกระบวนการขัดเกลา เช่น ครูอาจสั่งให้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ ค้นคว้ารายงานจากอินเตอร์เนท ฯลฯ โดยอิทธิพลของสื่อมวลชนเหล่านี้จะมีอิทธิพลมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะมีทัศนคติและแนวโน้มต่อสิ่งที่ได้รับอย่างไรบ้างก็ยอมรับบ้างก็ต่อต้านบ้างก็วางเฉย อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างไร จะเห็นได้ว่าสื่อมวลชนได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมของคนบางกลุ่มและการหาความรู้ของบุคคลอีกส่วนหนึ่ง
องค์ประกอบของสถาบันสื่อมวลชน
1. ตำแหน่งทางสังคม เช่น นักเขียน นักข่าว บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา โฆษก ผู้ให้ข่าว ผู้ชม ผู้ฟังผู้อ่าน ผู้จัดการ พนักงานขับรถ ผู้โดยสาร เจ้าของโรงพิมพ์ เจ้าของยานพาหนะเจ้าของหนังสือพิมพ์ เจ้าของสถานีวิทยุเจ้าของสถานีโทรทัศน์เจ้าของสินค้า เจ้าของเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
2. หน้าที่ สถาบันสื่อสารมวลชนมีหน้าที่สำคัญเช่น การแพร่ข่าวสารความรู้ความคิดต่อมวลชน โดยผ่านสื่อมวลชนต่างๆดังได้กล่าวแล้วการอำนวยความสะดวกในการเดินทางติดต่อกันระหว่างบุคคลต่างๆในสังคม และระหว่างสังคมรวมทั้งการขนย้ายเครื่องอุปโภคบริโภคไปมายังสถานที่ต่างๆทำให้บุคคลได้ทราบข่าวสารแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด ติดต่อซึ่งกันและกันได้ และทำให้บุคคลในสังคมได้มีของกินของใช้โดยทั่วถึงกัน
3.แบบแผนการปฏิบัติสถาบันสื่อสารมวลชนของแต่ละสังคมได้กำหนดแบบแผนสำหรับบุคคลตำแหน่งต่างๆของสถาบันนี้ได้ปฏิบัติเช่นเสนอข่าวที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงไม่บิดเบือน ข่าวสารไม่นำเรื่องส่วนตัวที่เจ้าตัวต้องการปกปิดมาเผยแพร่ไม่ใช้ถ้อยคำที่หยาบคายหรือไม่สุภาพไม่เผยแพร่ข่าวสารอันเป็นการดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น หรือนำความลับของชาติมาเปิดเผย เป็นต้น
4. ศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร ข้อมูลสารสนเทศ อินเตอร์เนท เพจเจอร์
หน้าที่ของสถาบันสื่อสารมวลชน
1. เป็นแหล่งข่าวที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
2. เป็นแหล่งให้ความรู้ความบันเทิง ข่าวสารแก่ปวงชน
3.เป็นการสร้างประชามติเป็นช่องสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นแหล่งเผยแพร่ปลูกฝังแนวคิดทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
7. สถาบันนันทนาการเป็นสถาบันพักผ่อนหย่อนใจในชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยมนุษย์จะทำแต่งานอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพักผ่อนด้วย การพักผ่อนจึงมักจะแฝงไว้ซึ่งความบันเทิงหรือความเพลิดเพลินในรูปต่างๆเช่น การกีฬา มหรสพการละเล่นการฟ้อนรำฯลฯ โดยแต่ละอย่างจำต้องมีการฝึกซ้อม หรือมีระเบียบต่างๆ นานา อาทิ การรับเข้าเป็นสมาชิก กติกาการเล่น กติกาการแข่งขัน กติกาการให้รางวัล เป็นต้น
องค์ประกอบของสถาบันนันทนาการ มีดังนี้
1. ตำแหน่งทางสังคม เช่น ประชาชนผู้ทำการพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้เวลาโดยทั่วไปผู้มีงานอดิเรก เช่น นักสะสมแสตมป์ เหรียญ หรือธนบัตร ของยุคสมัยต่างๆ หรือของชาติต่างๆ นักกีฬาประเภทต่างๆเช่น นักกอล์ฟ นักตะกร้อ นักเทนนิส นักแบดมินตัน นักฟุตบอล นักบาสเกตบอล ฯลฯ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬา นักเขียนสมัครเล่น นักเล่นกล้วยไม้ หรือพันธุ์ไม้ชนิดอื่น ๆ เป็นต้น
2. หน้าที่ สถาบันนันทนาการมีหน้าที่สำคัญในการบำรุงรักษาและเสริมสร้างสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกในสังคม ดังพุทธภาษิตที่ว่า การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ หรือภาษิตฝรั่งที่ว่า จิตใจที่เข้มแข็งอยู่ในร่างกายที่แข็งแรงนอกจากนั้นสถาบันนันทนาการยังมีหน้าที่ในการให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินและชี้แนวทางในการใช้เวลาว่างจากการงานให้เป็นประโยชน์แก่ร่างกายและจิตใจ
3. แบบแผนการปฏิบัติ เกี่ยวกับการนันทนาการได้แก่ ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ของการกีฬาและการออกกำลังกายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการร้องรำ หรือเล่นดนตรี ตลอดจนแนวทางในการพักผ่อนหย่อนใจอย่างถูกวิธีเพื่อให้บังเกิดผลดีแก่ร่างกายและจิตใจ นอกจากนั้นยังมีมาตรฐานของการเป็นนักกีฬาที่ดี มีสปิริตหรือน้ำใจ รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ไม่กระทำการรุนแรงกับคู่แข่งจนเกินเหตุ
4. ศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม สนามกีฬา สโมสร ชมรม ศูนย์ออกกำลังกาย
หน้าที่ของสถาบันนันทนาการ
1. ช่วยคลายความเครียดทางร่างกายและจิตใจ เกิดการพัฒนาสุขภาพกายและจิตใจ
2. ช่วยให้มีความสัมพันธ์ในหมู่ประชาชน ก่อให้เกิดวินัย เคารพกติกา
3. ช่วยเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ ป้องกันการเบื่อหน่ายกิจการงานหน้าที่ประจำได้
สรุป สถาบันสังคมต่างๆเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโครงสร้างสังคม ดังนั้นเมื่อแต่ละสถาบันเหล่านี้สามารถทำหน้าที่ของแต่ละสถาบันได้สมบูรณ์แบบก็จะทำให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม ทำให้สังคมนั้นดำรงอยู่ต่อไปได้ แต่ในทางตรงข้ามถ้าสถาบันใดสถาบันหนึ่งทำหน้าที่บกพร่องก็จะส่งผลกระทบถึงสถาบันอื่นๆ ในสังคมให้เกิดความไร้ระเบียบในสถาบันได้ จึงทำให้โครงสร้างสังคมนั้นเป็นปัญหาต้องแก้ไข เช่น สถาบันการเมืองการปกครองไม่สามารถป้องกันสมาชิกในสังคมให้อยู่ได้อย่างเป็นสุขจะส่งผลให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการผลิตและแจกแจงผลผลิต ทำให้สถาบันเศรษฐกิจ ไม่สามารถทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคมได้ อย่างเสมอภาค และยุติธรรม ฯลฯ

วันอังคารที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

4.โครงสร้างของสังคมมนุษย์

โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงสร้าง ของสังคม เปรียบได้กับบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่อย่าง สมบูรณ์ ประกอบด้วย โครงสร้างที่สำคัญหลายอย่าง เช่น คาน หลังคา พื้น ฝา ประตู หน้าต่าง เป็นต้น โครงสร้างของสังคมก็เช่นเดียวกัน ย่อมประกอบด้วยกลุ่มคน สถาบันทางสังคม และสถานภาพ บทบาทของคนในสังคม
กลุ่มคน หมายถึง คน 2 คนขึ้นไปมีการติดต่อกันทางสังคม และอยู่ร่วมกัน ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในระยะที่ยาวนานพอควร โดยมีจุด มุ่งหมาย ร่วมกัน เช่น สมาคมผู้ปกครองและครู สมาคมข้าราชการพลเรือน สมาคมเกษตรกร ฯลฯ คนที่ อยู่ร่วมกัน เพียงชั่วครั้งชั่วคราว เช่น เข้าชมภาพยนตร์ร่วมกัน โดยสารรถยนต์ คันเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นกลุ่มคน เพราะไม่มีการกระทำทางสังคมแต่ประการใด เสร็จภารกิจแล้วก็แยกย้ายกันไปตามวิถีทางของตน
ประเภทของกลุ่มคน
..1.กลุ่มปฐมภูมิ เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเป็นไปอย่าง แนบแน่น มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว ไม่มีพิธีรีตอง มีความสัมพันธ์ กันอย่างต่อเนื่อง เช่น ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว เพื่อนเรียน อันเป็น ความสัมพันธ์ที่มีความสม่ำเสมอ และยาวนาน กลุ่มปฐมภูมิเป็นกลุ่มสมาชิก จำนวนน้อย
..2. กลุ่มทุติยภูมิ เป็นกลุ่มที่สมาชิกขาดความสนิทสนมคุ้นเคยเป็นส่วนตัว สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกเป็นแบบทางการ สมาชิกของกลุ่ม ทุติยภูมิเป็น ลักษณะของกลุ่มขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียน กระทรวง บริษัท ฯลฯ
บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกที่มีต่อกลุ่มคน
..1.ในฐานะเป็นสมาชิกกลุ่มปฐมภูมิ ต้องมีความรัก ความรับผิดชอบต่อ ครอบครัวเป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน ให้ความช่วยเหลือต่อกลุ่มอย่างจริงใจ ฯลฯ
..2. ในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่มทุติยภูมิต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ของสังคมอย่างเคร่งครัด พัฒนาตัวเองให้มีความเจริญก้าวหน้า สร้างความสมานสามัคคีในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
กลุ่มสังคม (Social group)ก็คือกลุ่มคน (Human group)แต่เป็นกลุ่ม คนที่ผู้คนมีความสัมพันธ์มีการกระทำต่อกันทางสังคมและย่อมจะต้องมีการ จัดระเบียบทางสังคมแต่ระดับของความเป็นระเบียบมีแบบแผนในการ ดำเนินชีวิตร่วมกัน ความรู้สึกเป็นสมาชิกของกลุ่มอาจแตกต่างกันไป
การแบ่งชนิดของกลุ่มสังคม ก็อาจแบ่งออกได้แตกต่างกันไป ได้มีผู้รู้และนักสังคมวิทยาแบ่งชนิดของกลุ่มสังคม โดยอาศัยเกณฑ์การแบ่งแตกต่างกันไป เช่น ใช้ลักษณะความสัมพันธ์ของผู้คนในกลุ่ม คำนึงถึงระยะเวลาที่กลุ่มสังคมนั้นๆ ดำรงอยู่ คำนึงถึงขนาดของกลุ่ม ฯลฯ
ชนิดของกลุ่มสังคมที่มีผู้แบ่งไว้ เช่น
1. กลุ่มปฐมภูมิและกลุ่มทุติยภูมิ (Primary and Secondary) Charles H. cooley นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน ได้ให้ความหมายของกลุ่มปฐมภูมิว่า เป็นกลุ่มขนาดเล็ก ผู้คนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและอย่างเป็นกันเอง และเป็นความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจทางอารมณ์ ตัวอย่างของกลุ่มปฐมภูมิ เช่น กลุ่มเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนบ้าน ครอบครัว ฯลฯ ส่วนกลุ่มทุติยภูมิ เป็นกลุ่มที่สมาชิกมีความสัมพันธ์กันแบบไม่ใช่เป็นส่วนตัว (Impersonal relation) สมาชิกของกลุ่มขาดความอบอุ่นใจ เพราะทุกคนมุ่งแต่การปฏิบัติต่อกันตามระเบียบแบบแผน ขาดความเห็นอกเห็นใจกัน สมาชิกจะมีความรู้สึกขาดที่พึ่ง ขาดความเป็นกันเอง ตัวอย่างของกลุ่มทุติยภูมิ เช่น มหาวิทยาลัย องค์การท่าเรือแห่งประเทศไทย
2. กลุ่มพวกเขาและกลุ่มพวกเรา (We-group and They-group) William G. Sumner เป็นผู้แบ่งกลุ่มคนออกเป็นกลุ่มพวกเขาและกลุ่มพวกเรา โดยถือเอาความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มเป็นเกณฑ์ในการกำหนด เช่น ถ้าเขามีความรู้สึกว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้คนในกลุ่มเป็นพวกเดียวกับเขา (We feeling) มีความรู้สึกผูกพัน รู้สึกเป็นมิตร ลักษณะเช่นนี้จัดเป็นกลุ่มพวกเรา ตัวอย่างกลุ่มพวกเรา เช่น กลุ่มเพื่อนนักศึกษาร่วมชั้นเรียน เพื่อนบ้าน ครอบครัว นักเรียนรุ่นเดียวกัน ฯลฯ ส่วนกลุ่มพวกเขา ก็คือ กลุ่มที่ประกอบด้วยผู้คนที่เรามีความรู้สึกว่าห่างเหินจากเรา มีความรู้สึกว่าเป็นกลุ่มต่อต้าน เป็นคู่แข่ง ฯลฯ
3. กลุ่มคนระดับเดียวกันและกลุ่มคนหลายระดับ (Horizontal and Vertical) กลุ่มคนระดับเดียวกัน หมายถึง กลุ่มคนที่ประกอบด้วยผู้คนที่อยู่ในลำดับชั้นทางสังคมระดับเดียวกัน เช่น สโมสรอาจารย์ สมาคมแพทย์ ส่วนกลุ่มคนหลายระดับ หมายถึง กลุ่มคนที่ประกอบด้วยผู้คนต่างระดับชั้นทางสังคมมาอยู่ร่วมกัน เช่น พุทธสมาคม สหกรณ์ผู้บริโภค ซึ่งสมาชิกอาจประกอบด้วยบุคคลอาชีพต่างๆ ฐานะต่างๆ กัน มีทั้งข้าราชการระดับสูง ลูกจ้าง พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ
4. กลุ่มคนที่จัดตั้งขึ้นเป็นแบบแผนและไม่มีแบบแผน (Organized and Unorganized) กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเป็นแบบแผน หมายถึง กลุ่มที่กำหนดระเบียบที่ใช้เป็นแนวปฏิบัติของสมาชิกในกลุ่ม กำหนดตำแหน่งหน้าที่ของสมาชิก และโดยทั่วๆ ไป กลุ่มที่จัดตั้งเป็นระเบียบแบบแผนจะมีเป้าหมายของกลุ่มที่แน่นอน ตัวอย่างของกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเป็นระเบียบแบบแผนหรือเป็นทางการ เช่น องค์การท่าเรือแห่งประเทศไทย พุทธสมาคม บริษัท ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ไม่มีแบบแผน ได้แก่ กลุ่มที่ผู้คนมารวมกันอยู่อย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีระเบียบที่ใช้เป็นแนวปฏิบัติของกลุ่มที่แน่นอน ผู้คนติดต่อสัมพันธ์กันเป็นการส่วนตัว ตัวอย่างของกลุ่มชนิดนี้ เช่น กลุ่มเพื่อนสนิท กลุ่มเพื่อนบ้าน
5. กลุ่มชนส่วนใหญ่และกลุ่มชนส่วนน้อย (Majority and Minority) กลุ่มชนส่วนใหญ่ หมายถึง กลุ่มคนที่มีจำนวนประชากรมากกว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง และมีอำนาจทางการเมืองมากกว่าประชากรส่วนที่แตกต่างออกไป เช่น กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมและประวัติความเป็นมาอย่างเดียวกัน กลุ่มชนที่นับถือศาสนา กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าประชากรอีกส่วนหนึ่งที่เหลือ ตัวอย่างกลุ่มชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มคนที่นับถือพุทธศาสนา กลุ่มคนที่เป็นคนเชื้อชาติไทย กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมไทย ส่วนกลุ่มชนส่วนน้อย เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมและความต้องการในทางการเมือง ซึ่งแตกต่างไปจากชนส่วนน้อย เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมและความต้องการทางการเมือง ซึ่งแตกต่างไปจากชนส่วนใหญ่ ตัวอย่างในสังคมไทย เช่น ชาวญวณอพยพ ชาวจีน กลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม
6. ชุมชนชนบทและชุมชนเมือง (Rural and Urban) กลุ่มสังคมอาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มคนที่มีชีวิตอยู่ในชนบทหรือนอกเขตเทศบาล และสุขาภิบาล ซึ่งประกอบด้วยผู้คนที่มีอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ วิถีการดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติเป็นสำคัญ กับอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ชุมชนเมือง เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันอยู่ในอาณาบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ผุ้คนมีอาชีพทางด้านบริการและงานอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาชีพการเกษตร การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับการกำหนดเวลาและแบ่งแยกงานรับผิดชอบโดยเฉพาะความสัมพันธ์ของผู้คนเป็นไปตามหน้าที่รับผิดชอบ
7. กลุ่มสังคม อาจแบ่งออกเป็นกลุ่มการงาน (Task oriented group) ได้แก่ กลุ่มคนที่ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาร่วมตัวกันเพื่อร่วมกันทำงานหรือเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป ตัวอย่างของกลุ่มชนิดนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตสินค้า กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร อีกชนิดหนึ่ง คือ กลุ่มการสังคม (Socially oriented group) เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันเพื่อการคบหาสมาคม เพื่อการสังสรรค์ค์สัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มเพื่อน กลุ่มนักเรียนที่เรียนรุ่นเดียวกัน พุทธสมาคม

การเกิดกลุ่มสังคม
กลุ่มสังคมอาจเกิดขึ้นได้ 2 ทางด้วยกัน คือ ถูกสร้างขึ้นโดยเจตนา กับเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
กลุ่มที่เกิดขึ้นโดยเจตนา
มักจะเกิดจากใครคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนก่อตั้งขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ของตนและของกลุ่ม เช่น สมาคมพ่อค้า บริษัท ห้างร้าน จัดตั้งขึ้นมาเพื่อหวังผลกำไร

ส่วนกลุ่มที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ได้แก่ กลุ่มคนที่ช่วยงานวัด กลุ่มผู้ประท้วงการสร้างเขื่อนปากมูล กลุ่มเพื่อนบ้าน
กลุ่มสังคมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจสลายตัวไปได้ด้วยหลายสาเหตุ เช่น งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์แล้ว งานไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ งานหนัก เกินไป
กลุ่มปฐมภูมิ ลักษณะของกลุ่มปฐมภูมิ ตามที่ได้มีการศึกษากันไว้ พอสรุปได้ ดังนี้
1. โดยทั่วไปแล้วเป็นกลุ่มขนาดเล็ก และด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มขนาดเล็กนี้เอง ทำให้ผู้คนในกลุ่มมีโอกาสติดต่อใกล้ชิดสนิทสนม มีความเป็นกันเอง
2. สมาชิกมีความคุ้นเคยกัน และติดต่อสัมพันธ์กัน พบปะกันโดย ตรง (Face to Face)
3. ความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นลึกซึ้ง และมีลักษณะเป็นส่วนตัว (Personal) ความสัมพันธ์ยากที่จะสิ้นสุด เห็นอกเห็นใจและเกื้อหนุนกัน ตลอดไป
4. มีการติดต่อสัมพันธ์กันเป็นระยะเวลานาน

5. การกระทำต่อกันทางสังคมอาศัยความพึงพอใจเป็นหลัก และความพึงพอใจนี้เองเป็นหลักของการแก้ปัญหามากกว่าการใช้เหตุผล
กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary group) เป็นกลุ่มคนที่ประกอบด้วยผู้คนจำนวนมาก สัมพันธภาพทางสังคมของสมาชิกเป็นไปตามแบบแผน ขาดความเป็นกันเอง ลักษณะของกลุ่มทุติยภูมิ ประกอบด้วย
1. เป็นกลุ่มที่ผู้คนรวมตัวกันโดยมีการจัดระเบียบ มีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ

2. เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับกลุ่มปฐมภูมิ
3. เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันอย่างมีเป้าหมาย
4. การติดต่อกันอาศัยหน้าที่ (Function) มากกว่าเป็นการส่วนตัว
5. การติดต่อกันมักจะมีระยะสั้น

6. ขาดความเห็นอกเห็นใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
7. การติดต่อสัมพันธ์กัน เพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์
8. ผู้คนในกลุ่มทำงานตามหน้าที่และมุ่งหวังผลประโยชน์ของตนเอง
9. ความจริงใจต่อกันมีจำกัด และบางครั้งอาจแสร้งทำ
10. การตัดสินใจของกลุ่มอาศัยเหตุผล ยึดความถูกต้องเป็นหลัก เมื่อกลุ่มตัดสินใจแล้วสมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตาม
กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นแบบแผน (Formal organization) หรืออาจ เรียกว่ากลุ่มที่เป็นทางการ หมายถึง กลุ่มสังคมที่มีการจัดระเบียบในการ กระทำกิจกรรมร่วมกัน มีการกำหนดตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบและ บางกลุ่มอาจกำหนดสายการดำเนินงาน สายการบังคับบัญชาไว้ด้วย กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นแบบแผนมักเป็นกลุ่มขนาดใหญ่และพบได้ มากขึ้นเรื่อย ๆในสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะประชากรมีมากขึ้น มีกิจกรรม ต่าง ๆ ที่จะต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น

กลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic group) เป็นกลุ่มสังคมแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยผู้คนที่มีวัฒนธรรมและประวัติความเป็นมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน สังคมต่าง ๆ มักจะประกอบด้วยหลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์อาจเป็นชนกลุ่มใหญ่ หรือชนกลุ่มน้อยในสังคมก็ได้ และถ้ากลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่กลุ่มนั้นย่อมมีบทบาทและอำนาจ ทางการเมืองมากกว่า ถ้าสังคมใดประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม โอกาสที่จะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งย่อมมีมากขึ้น แต่บางกรณีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาอาจมีคุณค่าต่อการพัฒนา สังคมบ้างก็ได้ จากการที่สังคมนั้นได้รับวัฒนธรรมใหม่ ๆ จากกลุ่มชาติ พันธุ์ที่อพยพเข้ามาอยู่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการรู้จักนำเอาคนและวัฒนธรรม มาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่สังคมของตนด้วย
รูปแบบการกระทำต่อกันระหว่างสมาชิกและกลุ่ม
1. การร่วมมือกัน (Cooperation) เป็นการกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นจุดมุ่งหมายร่วมกัน และจุดมุ่งหมายเฉพาะของแต่ละบุคคลก็ได้

2. การแข่งขัน(Competition)เป็นความพยายามที่จะเอาชนะคู่แข่งขัน หรือฝ่ายตรงกันข้ามเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง
3. การขัดแย้ง (Conflict) เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่แสดงออก มาในลักษณะของการคัดค้านต่อต้านหรือบังคับซึ่งกันและกันเมื่อการแข่งขัน มีความรุนแรงมากขึ้น และต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยอมรับกติกา ไม่ยอมรับบรรทัด ฐานทางสังคม

4. การผ่อนปรนเข้าหากัน (Accommodation) เป็นวิธีการหนึ่งที่จะ ช่วยลดการขัดแย้งกันของคู่กรณีโดยทั่วไปการผ่อนปรนเข้าหากันจะเกิดขึ้นเมื่อคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน เห็นว่าการขัดแย้งนั้น ๆ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ฝ่ายตน หรือมองเห็นว่าตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

5. การผสมกลมกลืน (Assimilation) เป็นกระบวนการปรับตัวของ อีกฝ่ายหนึ่งให้เข้ากับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยรับเอาวิถีชีวิตของอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็น ของตน กระบวนการนี้มักจะค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลานาน

วันอังคารที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

3.ความหมายของสังคมมนุษย์

3.ความหมายของสังคมมนุษย์
สังคมหมายถึง การอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะอย่างถาวรของมนุษย์ ในสังคมนั้นมีบุคคลแต่ละคนเป็นส่วนประกอบรวมตัวกันขึ้น บุคคลแต่ละคนนี้นับว่าเป็นหน่วยเล็กที่สุดที่ประกอบขึ้นเป็นสังคม เป็นหน่วยสุดท้ายที่แยกให้เล็กลงไปอีกไม่ได้แล้ว การมาอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะกลุ่มก้อนและเป็นการอยู่รวมกันอย่างถาวรได้ก็จะต้องมีสิ่งที่เป็นตัวเชื่อมโยงที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ทำให้มนุษย์อยู่รวมกันอย่างสงบ มีระเบียบเรียบร้อย กลายเป็นสังคม (society)
สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน มีความสัมพันธ์กัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีระเบียบกฎเกณฑ์ และความเชื่อถือที่สำคัญๆ ร่วมกัน ตลอดจนมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกันเอง และระหว่างบุคคลกับกลุ่มสังคม

สังคม ..หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ยอมรับ แบบแผน กฎเกณฑ์ของกลุ่ม ร่วมกันในการดำเนินชีวิต
- นักสังคมวิทยา มีหน้าที่ในการศึกษา และสืบสวน จุดเริ่มต้นพัฒนาการวิถีชีวิตของคนและความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มมนุษย์ชาติ รวบรวมจัดรายการ ตีความข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับองค์การชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ครอบครัวและปรากฎการณ์ทางสังคมอื่น เพื่อให้นักบริหาร ผู้บัญญัติกฎหมายนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ใจการแก้ปัญหาสังคมต่อไป
คำนิยามความหมายของคำว่า”สังคม”ตามแนวของสังคมวิทยา
นักสังคมวิทยาคนสำคัญ
1.เฮนรี เดอร์ เซ็นต์-ไซมอน (Comte Henri de Saint-Simon)นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส การศึกษาสังคมควรจะใช้วิธีการศึกแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
2.ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte)ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1798 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1857 รวมอายุ 59 ปี เป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส คนแรกที่เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยา คนแรกที่เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยา เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า “Sociology”แนวคิด ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาสังคม และได้สร้างทฤษฎีพัฒนาการด้านความรู้ของมนุษย์ไว้เป็นลำดับนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific approach) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาสังคม
3.คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)เป็นชาวเยอรมันจบการศึกษาปริญญาเอกด้านปรัชญาจากเยอรมันเชื่อว่าสังคมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของประวัติศาสตร์ที่กำหนดโดยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
4.เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer)เกิดในอังกฤษ ใช้วิธีการนำเอาสังคมมาเปรียบกับอินทรีย์หรือร่างกาย (Organic analogy)
1.สังคมเหมือนกับอินทรีย์หรือร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เช่น กระเพราะ หัวใจส่วนสังคมก็จะประกอบไปด้วยสถาบันต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ศาสนา การศึกษา รัฐบาล และเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์และพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน
2.สังคมมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามกฎของนักชีววิทยา สังคมจึงต้องมีการปรับโครงสร้างให้สู่สภาวะดุลยภาพเหมาะกับสภาพแวดล้อมเพื่อดำรงความอยู่รอดของสังคม
3.การวิวัฒนาการของสังคมเหมือนกับอินทรีย์คือวิวัฒนาการจากโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนไปสู่โครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น
4.ความเจริญที่เกิดจากการวิวัฒนาการดังกล่าวอาจถูกทำลายลงด้วยกฎธรรมชาติ (Natural laws) ที่เกิดจากกระบวนการแข่งขัน (Competition)
5.รัฐบาลจะต้องให้เสรีภาพแก่ประชาชนในกิจกรรมทั้งปวง หากรัฐเข้าไปแทรกแซงกิจการของประชาชนจะทำให้การความไม่สมบูรณ์ในการแข่งขันกันตามธรรมชาติ (Survival of the unfittest) และจะมีผลทำสังคมมีความเจริญลดลง
5.อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) ชาวฝรั่งเศสเชื่อสายยิว เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกของฝรั่งเศสที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาสังคมวิทยาในมหาวิทยาลัยของประเทศฝรั่งเศส มองว่าความเป็นระเบียบของสังคม(Socialorder)และความเป็นสุขของประชาชนใน สังคมจะเกิดขึ้นหรือคงอยู่ต่อไปได้นั้นก็ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม(Socialintegration) ความผาสุขของคนในแต่ละสังคมขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เกิดจากสภาพการณ์ภายนอกภายในสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เขาอาศัยอยู่

- ลักษณะของสังคมมนุษย์
วิถีการดำเนินชีวิตในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในอดีตเป็นยุคของสังคมเกษตรกรรม การใช้ชีวิตของคนในสังคมเป็นแบบเรียบง่าย โดยปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ครอบครัวเป็นแบบครอบครัวใหญ่ และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคน ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่น ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสของชุมชน เมื่อสังคมได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น ลักษณะของ สังคมได้เปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรม วิถีชีวิตของคนได้เปลี่ยนจากเรียบง่ายมาเป็นชีวิตที่รีบเร่ง ให้ความสำคัญกับชีวิตการทำงาน และเครื่องจักรทุกอย่างจำกัดด้วยเวลา ยึดถือปัจเจกชนมากกว่า ส่วนรวม แบ่งสังคมออกเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวเริ่มลดน้อยลง ให้ความสำคัญของผลประโยชน์ที่พึ่งจะได้จากการทำงานมากกว่าจิตใจ การแข่งขัน มีมากขึ้น สังคมเมืองเป็นสังคมเมืองใหญ่ มีประชากรหนาแน่น ขาดแคลนสาธารณูปโภคปัญหายาเสพติด ปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ
เริ่มสังคมยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของการพัฒนาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ความก้าวหน้า ของการพัฒนาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคมทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตี่นตัวในอันที่จะปรับตัวเพื่อรองรับสิ่งใหม่ๆ สังคมได้มีการติดต่อสื่อสารถึงกันสะดวกและรวดเร็ว ขึ้น มีการกระจายบริหารไปสู่ท้องถิ่น มีการร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด ช่องว่างของสังคมลดน้อยลง สังคมเมืองและชนบทจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยแต่ละชุมชนจะมีความเข้มแข็ง มากขึ้น
ลักษณะของสังคม
.1. มีอาณาบริเวณเป็นที่รู้กันว่า มีขอบเขตแค่ไหน เพียงใด
.2. อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นสมาชิกของสังคมเดียวกัน รู้ว่าใครเป็นพวก ของตนหรือใครไม่ใช่พวกของตน
.3. แบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ร่วมมือช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน
.4. มีความคิด ความเชื่อ บรรทัดฐานค่านิยมคล้ายคลึงกัน เพราะได้รับการ อบรมสั่งสอนขัดเกลามาอย่างเดียวกัน
-หน้าที่ของสังคมมนุษย์
1. เสริมสร้างและผลิตสมาชิกใหม่ ได้แก่ ธำรงรักษาชีวิตมนุษย์ใน สังคม ให้สืบต่อกันโดยไม่ขาดสาย และผลิตสมาชิกใหม่แทนสมาชิกเก่าที่สิ้นชีวิตไป.
2. ผลิตแจกแจงสินค้าและบริการ ได้แก่ ผลิต จ่ายแจก และบริการเครื่อง อุปโภคแก่สมาชิกของสังคม
. อบรมสั่งสอนขัดเกลาสมาชิกของสังคมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคม ได้แก่ สังคมจะต้องอบรมสั่งสอนและขัดเกลาสมาชิกใหม่ ให้เรียนรู้ระบบระเบียบ กฎเกณฑ์ของสมาชิกนั้น ๆ
4. ดำรงรักษาไว้ซึ่งระเบียบกฎหมายของสังคม ได้แก่ การที่สังคมต้องจัด เจ้าหน้าที่ควบคุม ดูแล ลงโทษผู้ละเมิดระเบียบกฎหมายของสังคม -ประเภทของสังคมมนุษย์
เลวิส เฮนรี่ มอร์แกน (Lewis Henry Morgan) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ใช้ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ระบบเครือญาติ และระบบทรัพย์สิน แบ่งสังคมออกเป็น 3 สมัย โดยแต่ละสมัยจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้น คือ
1.สังคมคนป่า (Savage)
-ขั้นต้น เป็นสมัยเริ่มแรกของสังคมมนุษย์ ที่เป็นพื้นฐานของสังคมมนุษย์ในขั้นต่อไป

ขั้นกลาง เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักทำการประมง และมีความรู้ในการใช้ไฟ
-ขั้นปลาย เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักการทำถ้วยชามและทำธนูไว้สำหรับล่าสัตว์
2.สังคมอนาอารยชน (Barbarian)
-ขั้นต้น เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา
-ขั้นกลาง เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสัตว์ เพราะปลูกด้วยระบบชลประทาน ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยหิน
-ขั้นปลาย เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักการถลุงแร่เหล็ก ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยเหล็ก
3.สังคมอารยธรรม (Civilized) เป็นสมัยมนุษย์มีการใช้ภาษาและประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ จนถึงสมัยปัจจุบัน

ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ใช้ความเชื่อ (Belief) และความคิด (Ideology) ของมนุษย์มาใช้แบ่งประเภทของสังคม โดยอธิบายว่าสังคมทั้งหลายจะมีขั้นตอนของการพัฒนาความเชื่อและความคิด ตามลำดับดังนี้
1.ขั้นเทววิทยา (Theological stage) ก่อน ปี ค.ศ. 1300 เป็นต้นไป เป็นช่วงที่ความเชื่อและความคิดของมนุษย์ได้รับอิทธิพลจากศาสนา
2.ขั้นอภิปรัชญา(Metaphysical stage) อยู่ช่วงระหว่าง ปี ค.ศ.1300 - 1800 เป็นช่วงที่มนุษย์ใช้เหตุผลในการสร้างความคิด และยอมรับความเชื่อต่าง ๆ
3.ขั้นวิทยาศาสตร์(Positivistic stage) เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมามนุษย์เริ่มรู้จักใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในพัฒนาความคิด หรือยอมรับความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ส่วนที่ใช้กันทั่วไปทุกวันนี้ มีสองแนวทางด้วยกัน ดังนี้
แนวทางแรก ใช้แบบของการดำรงชีพ (Mode of subsistence) เป็นหลักในการแบ่งประเภทของสังคม โดยดูจากกิจกรรมที่มนุษย์กระทำเพื่อสนองความต้องการของตนในการดำรงชีพ ความต้องการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องการ คือ อาหาร เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัย การแบ่งสังคมโดยใช้ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีพของมนุษย์มีหลายรูปแบบ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการแบ่งประเภทสังคมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายของ เกอร์ฮาร์ด เลนสกี้ (Gerhard Lenski) ดังนี้
1.สังคมล่าสัตว์และเก็บพืชผัก (Huntering and gathering society) เป็นสังคมแบบเก่าแก่ที่สุดตั้งแต่แรกเริ่มของสังคมมนุษย์ เป็นสังคมที่มีประชากรจำนวนน้อย อาศัยอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย มีวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนไปตามฝูงสัตว์และพื้นที่มีพืชผักอุดมสมบูรณ์ มีการใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน (Primitive technology) ซึ่งได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุตามธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน กระดูกสัตว์ เป็นต้น มีการแบ่งงานกันทำตามเพศและวัย สมาชิกแต่ละคนในสังคมมีบทบาทที่สำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจ นั่นก็คือทุกคนต้องช่วยกันหาอาหารตลอดเวลา เพราะยังไม่รู้จักวิธีเก็บอาหารไว้ใช้ได้นานๆ และเมื่อหาอาหารมาได้แล้วก็ต้องมีการแบ่งปันอาหารให้ทั่วกันทุกคน
2.สังคมกสิกรรมพืชสวน (Horticultural society) จากหลักฐานเท่าที่ค้นพบสังคมแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบริเวณที่ใกล้กับที่ราบลุ่มแม่น้ำในตะวันออกกลางเมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่มนุษย์ดำรงชีพด้วยการผลิตอาหารจำพวกพืช ควบคู่ไปกับการล่าสัตว์และเก็บพืชผัก มีการสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวร อยู่กันเป็นชุมชน มีการเคลื่อนย้ายชุมชนไปตามความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินที่ใช้ในการทำกสิกรรม เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุตามธรรมชาติมีการขัดเกลาตกแต่งมากขึ้นในสมัยนี้บางชุมชนสามารถผลิตอาหารจากการทำกสิกรรม บางชุมชนเป็นสังคมเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน (Pastoral society) ทำให้เกิดผลผลิตในการดำรงชีพของแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน การแลกเปลี่ยนผลผลิตก็เกิดขึ้นตามมา
3.สังคมเกษตรกรรม (Agrarian society) เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชมนุษย์สามารถประดิษฐ์ไถขึ้นใช้ได้สำเร็จ ทำให้การเพาะปลูกสามารถปรับปรุงที่ดินแปลงเดิมให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ได้ การย้ายที่ทำกินไปยังที่ใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่าก็หยุดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนอกจากจะนำไปสู่การนำเอาพลังงานจากสัตว์เลี้ยงมาใช้ในการเกษตรกรรมแล้ว ยังทำให้เกิดการอยู่รวมกันเป็นเมือง มีการครอบครองที่ดิน และสะสมสัตว์เลี้ยงตามมา สังคมเกิดความไม่เท่าเทียมกัน มีการแบ่งชั้นของคนในสังคมตามความร่ำรวยสังคมต้องสร้างระบบควบคุมสังคมเพื่อจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยของระบบเศรษฐกิจ มีการสร้างระบบเงินตรา มีองค์กรที่ทำหน้าที่ปกครองสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการประดิษฐ์สิ่งใหม่เพื่อใช้ในการดำรงชีพเกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง
4.สังคมอุตสาหกรรม (Industrial society) ระหว่างศตวรรษที่ 18 - 19 ก็เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ มีผลทำให้รูปแบบการผลิตปัจจัยสำหรับการดำรงชีพของมนุษย์เปลี่ยนจากการใช้แรงงานสัตว์และคนไปใช้แรงงานเครื่องจักร มีการผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการค้า วัถตุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้น แต่รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่สามารถทำมาแปรรูปเป็นสินค้าตามที่ตลาดต้องการ เกิดชุมชนเมืองที่มีคนอยู่กันอย่างหนาแน่น ภายในชุมชนมีอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีสถาบันทางสังคมที่ทำหน้าที่เฉพาะด้านหลายสถาบัน มีการแบ่งแยกแรงงานตามความสามารถเฉพาะด้านไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นของเพศใด
นอกจากจะแบ่งสังคมเป็น 3 ประเภทแล้ว ยังมีนักสังคมศาสตร์บางคนได้กำหนดประเภทสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งแบบ นั่นก็คือ สังคมหลังยุคอุตสาหกรรม(Postindustrial society)เป็นสังคมที่ใช้สำนักงานแทนโรงงานอุตสาหกรรม ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนเครื่องจักร ชุมชนเมืองเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เรียกว่า มหานคร (Metropolitan) สังคมแบบนี้จะมุ่งไปยังระบบเศรษฐกิจที่เน้นการบริการด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ การศึกษา การขนส่ง และการสื่อสาร เป็นต้นเพื่อสนับสนุนการดำรงชีพของมนุษย์ (Popenoe 1993 : 94)
การแบ่งประเภทสังคมตามแนวความคิดของ เลนสกี้ สามารถมองได้ทั้งภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และภาพของสังคมในช่วงเวลาเดียวกันแต่ต่างกันในระดับของการพัฒนาการของสังคมแต่ละพื้นที่ กล่าวคือ ทุกสังคมของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงสังคมของตนตั้งแต่สังคมล่าสัตว์และเก็บพืชผัก จนถึงสังคมอุตสาหกรรมและสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันในยุคปัจจุบันในบางส่วนของสังคมประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีทั้งสังคมล่าสัตว์และเก็บพืชผัก สังคมกสิกรรมพืชสวน สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม และสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม
นอกจากการแบ่งสังคมตามแนวความคิดของ เลนสกี้ แล้ว มีนักสังคมวิทยาหลายคนที่ใช้ความแตกต่างของโครงสร้างสังคม (Social structure) แบ่งสังคมออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
เฟอร์ดินาน ทอยนีย์ (Ferdinand Tonnies) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เรียกสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความสัมพันธ์ทางสังคมแบบสนิทสนมกันแบบเพื่อนฝูงและญาติพี่น้องว่า Gemeinschaft และเรียกสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความสัมพันธ์ทางสังคมแบบรู้จักกันอย่างเป็นทางการ รู้จักกันเฉพาะเรื่อง หรือรู้จักกันตามบทบาทและหน้าที่ของสังคมว่า Gesellschaft หรืออาจกล่าวได้ว่าสังคม Gemeinschaft ก็คือวิถีชีวิตของสังคมชนบท ที่สมาชิกทุกคนในสังคมจะรู้จักกับสมาชิกคนอื่น ๆ อย่างเป็นกันเอง และมีการติดต่อพบประสังสรรค์ต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ส่วนสังคมแบบ Gesellschaft ก็คือสภาพของการอยู่อาศัยแบบสังคมเมืองสมัยใหม่ ที่สมาชิกแต่ละคนในสังคมจะมีวิถีชีวิตแบบเป็นส่วนตัว มีความเป็นอยู่แบบปัจเจกบุคคล (Individuality) โดยไม่สนใจพบค้าสมาคมกับคนรอบข้าง
อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส แบ่งสังคมเป็น 2 แบบ คือ แบบแรกเป็นสังคมที่มีการยึดเหนี่ยวกันแบบกลไก (Mechanical solidarity ) เป็นสังคมขนาดเล็ก ความร่วมมือและความสมานสามัคคีภายในสังคมเกิดจากการที่สมาชิกทุกคนมีบทบาทที่คล้ายคลึงกัน และมีค่านิยมเหมือนกัน แบบที่สองเป็นสังคมที่มีการยึดเหนี่ยวกันแบบอินทรีย์ (Organic solidarity) เป็นสังคมขนาดใหญ่ ความร่วมมือและความเป็นปรึกแผ่นของสังคมเกิดเฉพาะภายในกลุ่มของคนกลุ่มที่มีบทบาทเฉพาะด้านเหมือนกัน ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของสมาชิกในสังคมจะเกิดเฉพาะกับคนที่มีหน้าที่เดียวกัน
อีไล ชินอย (Ely Chinoy) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน แบ่งรูปแบบของสังคมออกเป็น 2 แบบ คือ
1.สังคมแห่งชุมชน (Communal society) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1.1การแบ่งแยกแรงงาน และบทบาทของสมาชิกในสังคมไม่มีลักษณะเฉพาะด้านสมาชิกแต่ละคนสามารถทำงานได้หลายอย่างตามบทบาทที่ตนมีอยู่ในสังคม ความแตกต่างในการทำงานเป็นไปตามบทบาทของเพศ และอายุ
1.2ครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญของสังคม พื้นฐานของการจัดระเบียบทางสังคม (Social organization) มาจากระบบเครือญาติ (Kinship)
1.3ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นแบบรู้จักกันเป็นส่วนตัวและมั่นคงถาวร การติดต่อระหว่างกันเกิดจากความพึงพอใจและเข้าใจซึ่งกันและกัน
1.4พฤติกรรม และการกระทำของคนในสังคมถูกควบคุมด้วยวิถีประชา และประเพณีของสังคม
2.สังคมแห่งสมาคม (Associational society) มีลักษณะดังนี้
2.1การแบ่งแยกแรงงาน และบทบาทของสมาชิกในสังคมมีการแบ่งแยกไปตามความชำนาญเฉพาะด้านเช่น ในงานประเภทเดียวมีการแบ่งงานออกเป็นหลายหน้าที่ แต่ละหน้าที่อาจแบ่งความรับผิดชอบตามความสามารถและระดับการศึกษา
2.2ครอบครัวมีหน้าที่ที่สำคัญต่อสังคมน้อยลง มีสถาบันอื่นเข้ามารับหน้าที่เฉพาะด้านแทน เช่น มีสถาบันการศึกษาทำหน้าอบรมสมาชิกของสังคม มีบริษัทและโรงงานอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
2.3ความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่รู้จักกันเป็นส่วนตัว รู้จักกันอย่างผิวเผินติดต่อกันในช่วงเวลาสั้น ๆ ตามบทบาทและหน้าที่
2.4พฤติกรรม และการกระทำของคนในสังคมถูกควบคุมโดยกฎหมาย มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดระเบียบของสังคมไว้อย่างชัดเจน
เมื่อพิจารณาสังคมทั้งสองประเภทที่กล่าวมา สามารถเปรียบเทียบได้ว่า สังคมแห่งชุมชน มีโครงสร้างทางสังคมเหมือนกับ สังคมก่อนยุคอุตสาหกรรม ที่ประกอบด้วย สังคมล่าสัตว์และเก็บพืชผัก สังคมกสิกรรมพืชสวน สังคมเกษตรกรรม และสังคมแห่งสมาคม มีโครงสร้างทางสังคมเหมือนกับ สังคมอุตสาหกรรม และสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม
-สภาวธรรมชาติที่มีผลต่อสังคมมนุษย์
ฮอบส์ ได้แสดงทัศนะไว้ว่า จากสภาวะที่มนุษย์ปราศจากกฎเกณฑ์คือ "สภาวะธรรมชาติ" (state of nature) ที่มนุษย์จะทำสงครามกับมนุษย์ด้วยกันเอง เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์ประการหนึ่งคือ ปรารถนาที่จะปกป้องตนเองให้อยู่รอด (self-preservation) และด้วยเหตุที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกันทั้งทางสรีรวิทยา และความสามารถทางปัญญา เมื่อมนุษย์ต้องการจะอยู่ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด ผลที่ตามมาคือ มนุษย์จะกลายเป็นศัตรูกัน และพยายามทำลายล้างกัน ในสภาวะธรรมชาตินี้ ฮอบส์เสนอว่า การกระทำของมนุษย์ก็มิได้ดีหรือเลวทั้งนั้น เมื่อมนุษย์อยู่ในสภาวะที่ไม่มีหลักประกันความปลอดภัยในชีวิต ความกลัวก็คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นในมวลมนุษย์และเป็นพลังดันให้มนุษย์แสวงหาสันติซึ่งจะรุนแรงกว่าอารมณ์ที่จะทำให้มนุษย์เข้าหาสงคราม กระนั่นก็ดีมนุษย์มิอาจจะได้มาซึ่งสันติภาพหากมนุษย์ไม่ใช้เหตุผล (Denby, 1997) รอสส์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม ใช้เป็นมาตรวัดการกระทำใดมีจริยธรรมหรือไม่ โดยความยุติธรรมที่ได้จะเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับจากอิสรชนผู้มีเหตุผล

วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

2.ประวัติความเป็นมาของมนุษย์

ประวัติมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
หลักฐานเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน ลงความเห็นว่ามนุษย์มีพัฒนาการมาจากวานร (ape) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษร่วมของมนุษย์และลิง บรรพบุรุษรุ่นแรกๆของมนุษย์ยังแตกออกไปหลายเผ่าพันธุ์เช่น ออสตราโลพิทิคัส โฮโม ฮาบิลิส และโฮโม อิเร็กตัส ซึ่งอยู่ในยุค เพลโตเชียน (เมื่อ 1.8 ล้านปีก่อน) โลกยุคนั้นยังเป็นยุคน้ำแข็ง มีสัตว์อย่างเช่นช้างแมมมอท เสือเขี้ยวดาบ แผ่นดินเปลี่ยนแปลงไปจากโลกยุคปัจจุบันมาก
อาฟริกาจุดกำเนิด : หลักฐานโบราณคดีระบุว่ามนุษย์สมัยใหม่เกิดขึ้นในอาฟริการาว 200,000 ปีก่อน ฟอสซิลมนุษย์เก่าแก่ที่สุดพบในโอโมคิบิซ เอธิโอเปีย ส่วนหลักฐานเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์สมัยใหม่นอกแอฟริกา ปรากฎในอิสราเอล แต่คนกลุ่มนั้นสูญพันธ์ไปเมื่อราว 90,000 ปีที่แล้ว
ออกจากอาฟริกา : หลักฐานทางพันธุกรรมชี้ว่ามนุษย์สมัยใหม่ ที่เดินทางออกจากอาฟริกาในช่วง 70,000 ถึง 50,000 ปีก่อน ได้เข้าแทนที่มนุษย์ยุคก่อนหน้าอย่างมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล
เดินทางไปถึงออสเตรเลีย : การพบเครื่องมือต่างๆ ที่มาลาคูนันจา และซากฟอสซิลที่ทะเลสาบมุงโกของออสเตรเลียชี้ให้เห็นว่า มนุษย์สมัยใหม่อาจใช้เส้นทางตามแนวชายฝั่งตอนใต้ของเอเชียเลาะไปถึงทวีปออสเตรเลียเมื่อเกือบ 50,000 ปีที่แล้ว และพบว่าชาวอะบอริจิน ก็ยังคงมีลักษณะพันธุกรรมที่คล้ายกัน
ชาวยุโรป : ข้อมูลพันธุกรรมชี้ว่า ดีเอ็นเอของคนในยูเรเชียตะวันตกปัจจุบันคล้ายกับดีเอ็นเอของชาวอินเดีย เป็นไปได้ว่าบรรพบุรุษมนุษย์จะอพยพจากเอเชียไปยุโรปในช่วง 40,000 ถึง 30,000 ปีที่แล้ว
ชาวเอเชีย : เมื่อประมาณ 40,000 ปีก่อน มนุษย์ได้เดินทางมาเอเชียกลาง และไปถึงทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายทางเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ส่วนอีกสายหนึ่งก็เดินทางผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน ไปสู่ไซบีเรียและญี่ปุ่น ข้อมูลทางพันธุกรรมชี้ว่ามนุษย์ทางเหนือของเอเชียเดินทางไปทวีปอเมริกา
สู่โลกใหม่ : หลักฐานทางพันธุกรรมชี้ว่ามนุษย์รุ่นใหม่เดินทางข้ามทวีปจากเอเชียมายังอเมริกาเหนือผ่านทางไซบีเรียและอะลาสกาในช่วงราว 20,000 ถึง 15,000 ปีก่อน ขณะที่ระดับทะเลลดต่ำจนแผ่นดินระหว่างสองทวีปเชื่อมต่อกัน เพียงชั่วเวลาเก้าพันปีก่อน มนุษย์ก็เดินทางไปตั้งถิ่นฐานเกือบทั่วทั้งโลกมาแต่โบราณกาลแล้ว

2.1.ประวัติความเป็นมาของสังคม
มนุษย์รู้จักการรวมตัวกันเป็นกลุ่มมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแสนปีมาแล้ว โดยในระยะแรก ๆ ได้รวมตัวกันอย่างง่าย ๆ แล้วค่อยวิวัฒนาการมาตามลำดับ จนกลายเป็นสังคม เป็นบ้านเมืองมาจนถึง ทุกวันนี้ สาเหตุที่มนุษย์ต้องรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มหรือสังคมนั้นก็เพราะมนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกันใน การดำรงชีพ เช่น ช่วยกันผลิตอาหาร ช่วยกันสร้างที่อยู่อาศัย ช่วยกันสร้างเครื่องมือการเกษตรและอาวุธเพื่อช่วยป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ หรือจากการรุกรานของมนุษย์ด้วยกัน
นักปราชญ์หลายท่านได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้มนุษย์มาอยู่รวมกันในสังคม ดังนี้
2.2อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social animal) โดยเขาเชื่อว่า โดยสภาพธรรมชาติของมนุษย์แล้วจะต้องมีชีวิตร่วมกับบุคคลอื่น ๆ มีการติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระตามลำพังได้ สังคมจึงเกิดขึ้น อริสโตเติลยังย้ำอีกว่า มนุษย์เพียงคนเดียวนั้นไม่สามารถสืบเชื้อสาย ไม่สามารถป้องกันตัวเองและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพอยู่ได้นานอย่างไรก็ตามนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า สังคมเป็นผลของสัญญาที่มนุษย์ตกลงจัดทำขึ้นด้วยความสมัครใจของมนุษย์เอง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสังคมก็เพื่อขจัดความโหดร้ายทารุณและความสับสนต่าง ๆ ตามสภาพธรรมชาติของมนุษย์
2.3แนวคิดของนักปราชญ์กลุ่มนี้ เรียกว่า “ทฤษฎีสัญญาสังคม”(Social Contract Theories of Society) โดยทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นถึง สภาวะธรรมชาติของมนุษย์ (State of nature) ที่เชื่อว่ามนุษย์ในอดีตนั้นไม่ได้รวมตัวกันเป็นสังคมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ หากแต่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากสภาพความชั่วร้าย ความยุ่งยาก การเพิ่มจำนวนของมนุษย์ ตลอดจนการพัฒนาอารยธรรม จำเป็นให้มนุษย์ต้องละทิ้งธรรมชาติ และหันมาสัญญากันด้วยความ สมัครใจที่จะอยู่รวมกันในสังคม โดยมุ่งหวังที่จะได้รับความคุ้มครองและประโยชน์สุขเป็นการตอบแทนบุคคลสำคัญที่เป็นเจ้าของความคิดนี้ได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobes)จอห์น ล็อค (John Locke)และ ชองน์ จาคสร์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobes)
เชื่อว่าก่อนที่มนุษย์จะมารวมกันเป็นสังคมนั้น มนุษย์มีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติซึ่งเป็นสภาพที่ปราศจากสังคม ปราศจากรูปแบบการปกครองหรือรัฐบาล เป็นสังคมที่ “ไร้รัฐ stateless” ไม่มีกฎหมายไม่มีความยุติธรรม ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร ปราศจาก อำนาจกลาง (common power) มนุษย์ตามสภาวะธรรมชาติมีความต้องการมากกว่าเหตุผล ดังนั้นการใช้พละกำลังจึงเป็นเครื่องมืออันเดียวที่จะควบคุมสิทธิของมนุษย์ตามธรรมชาติ ทำให้มนุษย์ตามสภาวะธรรมชาติมีความโหดร้าย มีความเห็นแก่ตัว อย่างไรก็ตามเพื่อขจัดภาวะอันความโหดร้ายดังกล่าว มนุษย์จึงสัญญาที่จะ เข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยค่อย ๆ ละทิ้งสภาวธรรมชาติที่โหดร้ายเหล่านั้นเสีย
อุทัย หิรัญโต เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนย่อมเกิดมาในหมู่คน ดำรงชีวิตอยู่ในหมู่คน และต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ โดยการดำรงชีวิตอยู่เป็นกลุ่มเป็นหมู่นั้น เกิดขึ้นเพราะแรงขับดันทางธรรมชาติ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 พวก คือ
1. ความหิวกระหายต่าง ๆ (Appetite) เช่น ความหิวกระหาย ความใคร่ในกามารมณ์ ความกระหายในการสังสรรค์สมาคมกับคนอื่น ๆ
2. การหลีกเลี่ยงต่าง ๆ (Aversion) เช่น ต้องการหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย ภัยพิบัติและความตาย เป็นต้น
ความหิวกระหายทำให้มนุษย์รู้จักจัดระเบียบสังคม เช่น ทำให้เกิดวัฒนธรรมเกี่ยวกับการ เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การสะสมอาหาร ความกระหายในกามารมณ์ทำให้เกิดการสืบพันธ์การสร้างครอบครัวขึ้น ส่วนการหลีกหนีต่าง ๆ ก่อให้เกิดการจัดการเรื่องสาธารณสุข การจัดให้มีตำรวจเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย สร้างผู้นำเพื่อปกครอง เป็นต้น

2.4 ความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธศาสตร์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่องการกำเนิดจักรวาล โลก มนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ใน อัคคัญญสูตร พระไตรปิฎกและอรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๑๕ หน้า ๑๔๖ พระสูตรนี้ได้กล่าวถึงการบังเกิดขึ้นจักรวาล โลก มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้ (ขอให้พระนิสิตคลิกเข้าไปศึกษาในเว็บการกำเนิดโลกและมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา)

วันจันทร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

มนุษย์กับสังคม Man and Society

. แนวสังเขปรายวิชา
ศึกษาความเป็นมนุษย์ตามหลักการทางสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบัน องค์ประกอบ โครงสร้างและกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อพัฒนาการทางอารมณ์ จิตสำนึกและสติปัญญาของมนุษย์ พิจารณาปัญหาต่างๆของสังคมโดยทั่วไปและปัญหาของสังคมไทย ให้รู้วิธีแก้ปัญหาตามแนวพุทธ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้นิสิตรู้จักลักษณะและคุณสมบัติของมนุษย์
2. เพื่อให้นิสิตรู้จักลักษณะของศักยภาพในมนุษย์ตามแนวทางพุทธศาสนา
3. เพื่อให้นิสิตสามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4. เพื่อให้นิสิตสามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในบทเรียนได้ด้อย่างถูกต้อง
5. เพื่อให้นิสิตมีทัศนคติและมีศีลปัญญาในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างบุคคล

เนื้อหา มนุษย์และพัฒนาการ
1. ลักษณะสากลของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
2. ศักยภาพของมนุษย์
3. พัฒนาการของมนุษย์ตามแนวพุทธศาสตร์

1. ลักษณะสากลของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
1. ยืนตัวตรงและเคลื่อนที่ด้วย 2 ขา
2. ช่วงขายาวกว่าแขน
3. หัวแม่มือ หัวแม่เท้าสั้น พับงอเข้ามาได้
4. กระดูกสันหลังตั้งตรง
5. ร่างกายไม่ค่อยมีขน
6. กระดูกคอ ต่อจากใต้ฐานหัวกะโหลก
7. สมองมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว
8. หน้าสั้นและแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรง
9. ขากรรไกรสั้น และแนวฟันโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม
10. เขี้ยวไม่โตกว่าฟันกรามหน้า
11. ฟันกรามหน้าซี่ที่1 และ 2 ไม่ต่างกันมาก
12. มีระบบสืบพันธุ์ที่ไม่จำกัดขอบเขต
13. เป็นสัตว์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
14. เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์มากที่สุด
15. มีช่วงเวลาหลังจากเจริญวัยเต็มที่นานมาก

2.ลักษณะพิเศษของมนุษย์ที่เหนือกว่าสัตว์อื่น
1. มนุษย์มีความสามารถในการใช้สัญลักษณ์ในการติดต่อสัมพันธ์กัน ช่วยให้เข้าใจกันได้ เช่น นิ้วมือ ภาษา
2. มนุษย์มีวัฒนธรรม ทำให้มนุษย์มีความเป็นระเบียบ สามารถจัดระเบียบของสังคมและมีวิถีชีวิตที่สามารถดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ สามารถสร้างความ เจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมได้
ความได้เปรียบที่สำคัญของมนุษย์
1. ความสามารถในการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด
2. มีมันสมองที่ใหญ่และมีคุณภาพ
3. สามารถเดินได้เร็ว
4. มีนิ้วมือที่สามารถใช้งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด
5. มีตาที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ดีและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
6. มีอายุที่ยืนยาวกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ
7. มนุษย์มีชีวิตอยู่และเรียนรู้ร่วมกันเป็นสังคม
8. มนุษย์มีกิจกรรมทางเพศตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยชรา
9. มนุษย์สามารถเรียนรู้และมีความฉลาด รู้จักใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
10. มนุษย์มีเครื่องมือในการสื่อความหมาย
11. มนุษย์ได้เปรียบสัตว์อื่นๆ เพราะกินอาหารได้มากชนิด ทั้งพืชและสัตว์
พัฒนาการมนุษย์ (Human Development)
พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลง ตามวัยของมนุษย์ที่เป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรม
กับสิ่ง แวดล้อมในลักษณะบันใดวนไม่สิ้น สุดตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนตาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาต่าง ๆ
โดยทั่วไป การกล่าวถึงพัฒนาการนั้นจะเน้นที่การศึกษาถึงการเจริญเติบโตขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการเจริญเติบโต ไปสู่การมีวุฒิภาวะและการเรียนรู้
การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีผลจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด การเรียนรู้ เป็นสิ่งจำเป็นในการปรับตัว เพื่อ ความอยู่รอดของมนุษย์
ธรรมชาติของพัฒนาการมนุษย์
-มีลักษณะมีทิศทางแน่นอน มีแบบแผน(DIRECTIONAL)
-มีลักษณะการใช้ส่วนย่อยและรวมกันของส่วนย่อยเป็นกิจกรรมใหม่ขึ้นมา (CUMMULATIVE)
-มีความต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ค่อย ๆ เปลี่ยน (CONTINUOUS)
-พัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
-พัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน
-พัฒนาการมีลักษณะเป็นองค์รวม (Holistic) จะมีลักษณะพัฒนาการไปพร้อม ๆ กันทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
พัฒนาการมนุษย์ เรื่อง : ชนิดของการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการแบ่งออกเป็น 4 ชนิด
1. การเปลี่ยนแปลงทางขนาด เห็นได้ชัด คือทางด้านร่างกายและทางด้านสติปัญญา เด็กจะค่อยๆ สูงขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น รูปร่างขยายใหญ่ขึ้น อวัยวะภายใน เช่นหัวใจ ลำไส้ กระเพาะอาหาและปอด ก็ขยายใหญ่ขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของร่างกายที่เพิ่มขึ้น ส่วนพัฒนาการทางด้านสติปัญญาก็เพิ่มมากขึ้น ทั้งความจำ ความสามารถรับรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการใช้เหตุผล
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วน สัดส่วนของเด็กกับผู้ใหญ่นั้นแตกต่างกันมาก โดยรูปร่างของเด็กไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ย่อลงมา ขนาดของศรีษะเมื่อแรกเกิดจะเป็น 1 / 4 ของความยาวของหัวจรดเท้า แต่ขนาดศรีษะของผู้ใหญ่จะเป็น 1 / 8 ของความยาวของหัวจรดเท้า เมื่ออายุประมาณ 13 ปี สัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีขนาดใกล้เคียงกับผู้ใหญ่
3. ลักษณะเดิมหายไป การเปลี่ยนแปลงในขณะที่เด็กเจริญเติบโตขึ้น ลักษณะที่มีอยู่เดิมจะหายไป ฟันน้ำนม ขนอ่อน ผมไฟ การพูดจาจะชัดเจนขึ้น เคยคืบคลานก็จะเปลี่ยนไปยืนเดิน และวิ่งในที่สุด
4. มีลักษณะใหม่ ๆ เกิดขึ้น บางอย่างมีผลมาจากวุฒิภาวะทางด้านร่างกายจะเห็นได้ชัด เช่น ฟันแท้ขึ้นแทนฟันน้ำนม การมีขนเกิดขึ้นตามอวัยวะเพศและรักแร้ของวัยรุ่น การมีหนวดเครา และเกิดหลั่งอสุจิในชาย การมีทรวดทรงและประจำเดือนในผู้หญิง การปรับปรุงบุคลิกภาพใหม่ ๆ การศึกษาหาความรู้

ศักยภาพของมนุษย์
ศักยภาพ (Potential) คืออะไร
ความสามารถ / ความเก่ง แอบแฝงของบุคคลที่คาดว่ายังมีอยู่ แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการทำงานจริง ๆ สมรรถนะ (Competency) คืออะไร
ความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมที่ เหมาะสมในการทำงานให้เป็นไปตามที่ตำแหน่งนั้นกำหนด
ศักยภาพของมนุษย์

มนุษย์ทุกคนมีความเหมือนกันทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม แต่ในความเหมือนกันส่วนใหญ่นี้มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปอีก
1.ทางกาย ( Physical ) หมายถึงรูปร่างของมนุษย์ทั้งที่เห็นด้วยตา และมองไม่เห็นด้วยตาเช่นรูปร่างหน้าตา สีผิว โครงกระดูก เป็นต้น
2.ทางสติปัญญา ( Intellience ) คือความสามารถของสมองเป็นหลัก แสดงออกในแง่ของเชาว์ปัญญา ความฉลาด การเรียนรู้ การจดจำ เชาว์ปัญญาคือ IQ เป็นมาตรฐานวัดความฉลาดของมนุษย์ ถ้า IQ สูง แสดงว่ามีระดับสติปัญญาสูง ซึ่งมักจะแปรผันตรงกับ การเรียนเก่ง
3.ทางอารมณ์ ( Emotional ) ซึ่งก็คือ EQ การที่เด็กเรียนดี สติปัญญาดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพมีความสุขในอนาคต Dr.Deniel Goleman ( 1997 ) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า " บุคคลควรมีลักษณะอย่างอื่นนอกเหนือจาก IQ คือ EQ ( Emotional quotient ) " นักจิตวิทยามีความเห็นพ้องกันว่า " IQ มีส่วนผลักดันให้คนประสบความสำเร็จเพียง 20 %เท่านั้น ส่วน 80% ที่เหลือมาจากส่วนอื่นๆรวมทั้ง EQ ด้วย หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ " EQ มีองค์ประกอบได้แก่ การรู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองเป็นใคร มีความสามารถในการจัดการอารมณ์ของตนเอง มีวินัยสูง บังคับใจตนเองได้ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คนที่มี EQ สูงมักแสดงออกโดยการมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ดี และสามารถหาทางออกให้กับตนเองได้ด้วยดี ส่วนคนที่มี IQ สูงแต่ล้มเหลวในชีวิตเพราะมี EQ ต่ำ การเลี้ยงดูในวัยเด็กมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์มาก สรุปได้ว่า "คนที่รู้ว่าตนเองมีอารมณ์เป็นอย่างไรย่อมควบคุมทางเดินในชีวิตได้ดีกว่า"
4.ทางสังคม ( Social ) หมายถึงความสามารถของบุคคลที่แสดงออกในหมู่คน ที่เรียกว่า "มีความเก่งคน" ( Social ability ) ปัจจุบันมีคำว่า AQ ( Accessory quotient ) ซึ่งหมายถึงความสามารถทางสังคมของบุคคล ซึ่งสร้างเสริมได้จากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว เด็กที่มี AQ สูงจะเป็นเด็กที่มีความมุ่งมั่น มีความมั่นใจในตนเอง มีแรงจูงใจในการเปลี่ยนอุปสรรคให้กลายเป็นโอกาส
พัฒนาการมนุษย์ (Human Development)
พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลง ตามวัยของมนุษย์ที่เป็นผลจากปฏิ สัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่ง แวดล้อมในลักษณะบันใดวนไม่สิ้น สุดตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนตาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย
อารมณ์ สังคม สติปัญญาต่าง ๆ
พัฒนาการของมนุษย์ตามแนวพุทธศาสนา
ไตรลักษณ์ ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ลักษณะสามัญ ๓ ประการของสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นเหมือนกฎธรรมชาติ ครอบงำสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ ประกอบด้วย อนิจจา ทุกขตา และอนัตตตา
.อนิจจา ความไม่คงที่ ไม่ถาวร หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรเที่ยงแท้ สิ่งมีชีวิต เมื่อเกิดแล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงตามวัย จากเด็กเติบโตมาเป็นวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยชรา และตายไป สิ่งมีชีวิตก็เช่นเดียวกัน จะต้องมีการทรุดโทรม ผุกร่อน และเสื่อมโทรมไปในที่สุด
๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์ของสิ่งทั้งปวง คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ตามปกติคนทั่วไปจะมีการยึดมั่นในเรื่องตัวตน คือการยึดว่า สิ่งนั้นเป็นของเรา นี่คือเรานี่เป็นเรา แต่ในทางของพระพุทธ