วันพุธที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

7.6 พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม

-ธรรมชาติของพฤติกรรม
-ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์
-ปัจจัยทางชีวภาพกับพฤติกรรมมนุษย์
-การเกิดพฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฎีของ Abraham Maslaw
-ความสัมพันธ์แห่งชีวิตมนุษย์กับพฤติกรรม

-บรรทัดฐาน(Social Norm)
-สถานภาพ(Status)
-บทบาท(Role)
-การควบคุมกลุ่มคน(Intergration the group
through social contral)
-การลำดับชั้นทางสังคม(Social Ranking
-พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาอาการแสดงออกทุกรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้งภายนอกและใน เป็นการแสดงออกที่เห็นได้จากภายนอก โดยรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากการทำงานร่วนกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
-กลไกการเกิดพฤติกรรมการที่พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องประกอบด้วย
1. สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น (STIMULUS)
2. เหตุจูงใจ (MOTIVATION) ซึ่ง หมายถึงความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์ก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม เช่น ความหิว ความกระหาย เป็นต้น
พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับความเจริญของหน่วยต่างๆ ดังนี้
1. หน่วยรับความรู้สึก (RECEPTER)
2. ระบบประสาทส่วนกลาง (CENTRAL NERVOUS SYSTEM)
3. หน่วยปฏิบัติงาน (EFFECTOR)
ประเภทของพฤติกรรม
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (INNATE BEHAVIOR)พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดเป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ มีรากฐานมาจากกรรมพันธุ์ (สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อได้รับประสบการณ์เพิ่มเติมขึ้น) ไม่ต้องมีการเรียนรู้มาก่อน มีแบบแผนที่แน่นอนในสัตว์แต่ละสปีชีส์ สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
2. พฤติกรรมการเรียนรู้ (LEARNING BEHAVIOR)พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่จะต้องอาศัยประสบการณ์ ส่วนใหญ่พบพฤติกรรมแบบนี้ในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี
3. พฤติกรรมทางสังคม (SOCIAL BEHAVIOR)พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่สัตว์ใช้สื่อสารติดต่อระหว่างสปีชีส์เดียวกัน หรือต่างสปีชีส์ที่อยู่ร่วมกัน โดยอาจเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดหรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ก็ได้
มนุษย์อาจแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น เหนียมอาย เห็นแก่ตัว ชอบเป็นภาระช่วยเหลือผู้อื่น ชอบข่มเหงรังแกผู้อื่น ตื่นตกในง่าย ฯลฯ พฤติกรรมต่างๆ ที่มนุษย์แสดงออกอาจแยกออกเป็นรูปแบบต่างๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมปกติ
2. พฤติกรรมเบี่ยงเบน
พฤติกรรมปกติ ได้แก่ พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกตามบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งผู้คนในสังคมนั้นยอมรับ เป็นต้นว่า การให้ความช่วยเหลือไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การยอมรับกติกาของสังคม การรู้จักคบค้าสมาคมกับผู้อื่น
พฤติกรรมเบี่ยงเบน ได้แก่ เป็นพฤติกรรมที่กระทำผิดไปจากบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งอาจเนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว หรือจากความผิดปกติทางร่างกาย หรือด้วยสาเหตุอื่นๆ พฤติกรรมเบี่ยงเบนอาจแสดงออกมาในรูปต่างๆ เช่น

ก. ความเห็นแก่ตัว ลักษณะความเห็นแก่ตัวของมนุษย์นั้น อาจเกิดจากความต้องการเพื่อตนเอง เช่น ถ้าหิวและอาหารมีจำกัด มนุษย์ย่อมจะแย่งชิงกัน มนุษย์ที่เห็นแก่ตัวจะช่วยเหลือคนอื่นก็ต่อเมื่อได้คิดพิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าช่วยแล้วจะสิ่งตอบแทนคุ้มค่าหรือเกินคุ้ม
ข. ก้าวร้าว เช่น ทำลายชีวิตผู้อื่น ทำลายสิ่งของเครื่องใช้ ทำลายชีวิตตนเอง
ค. หนีสังคม ไม่อยากคบค้าสมาคมกับผู้อื่น ยอมพ่ายแพ้ต่อชีวิต ต่อหน้าที่การงาน
ง. ไม่ยอมรับกติกาของสังคม เห็นว่าล้าสมัย หรือไม่ให้ความเป็นธรรม และบางครั้งก็สร้างบรรทัดฐานขึ้นมาใช้เอง หรือชักชวนให้ผู้อื่นร่วมใช้
พฤติกรรมทางสังคมจำแนกตามวิธีการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ได้ดังนี้
1. การสื่อสารด้วยท่าทาง (VISUAL SIGNAL)
2. การสื่อสารด้วยเสียง (SOUND SIGNAL)
3. การสื่อสารด้วยสัมผัส (PHYSICAL SIGNAL)
4. การสื่อสารด้วยสารเคมี (CHEMICAL SIGNAL)
ฟีโรโมน (PHEROMONE)หมายถึง สารเคมีที่สัตว์สร้างขึ้น เมื่อหลั่งออกมาภายนอกร่างกายแล้วจะไปมีผลต่อสัตว์ตัวอื่นซึ่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีระเฉพาะอย่างได้การรับฟีโรโมนมีได้ 3 ทาง คือ
1.ทางกลิ่น- สารที่ชะมดสร้างขึ้นบริเวณใกล้อวัยวะสืบพันธุ์- สารที่ผีเสื้อสร้างขึ้นเพื่อล่อให้ตัวผู้มาสืบพันธุ์
2.ทางการกิน- สารที่สร้างจากต่อมบริเวณรยางค์ปากกาของราชินีผึ้งงานกิน
3.โดยการดูดซึม- แมลงสาบ แมงมุม ตัวเมียสร้างขึ้นเมื่อตัวผู้มาสัมผัสจะตามไปจนพบและผสมพันธุ์กัน- ตั๊กแตนตัวผู้ ปล่อยสารทิ้งไว้หลังการผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนมาสัมผัสเข้าจะกระตุ้นให้เจริญเป็นตัวเต็มวัย
ปัจจัยทางชีวภาพกับพฤติกรรมมนุษย์
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors) ได้แก่ องค์ประกอบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบประสาท ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ ปริมาณน้ำในเลือด โครโมโซม ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้มักจะเป็นสิ่งติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมที่ได้มาจากกรรมพันธุ์ และทำให้เกิดพฤติกรรมลักษณะเฉพาะตัวขึ้น กรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลานได้ เช่น ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ทำให้พฤติกรรมของมนุษย์ผิดไป อาจเป็นคนก้าวร้าหรือมีพฤติกรรมผิดปกติ การเลี้ยงดูการให้ความรักความอบอุ่น เด็กจะเจริญเติบโตเป็นคนที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ถ้าให้อาหารอย่างพอเหมาะตามหลักโภชนาการ เด็กจะเจริญเติบโตเป็นคนแข็งแรงพฤติกรรมต่างๆ จะเป็นปกติได้มากกว่า ไม่เป็นคนก้าวร้าว หันเหเข้าหาอบายมุข นอกจากนั้นการขัดเกลาทางสังคมก็จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมตามต้องการได้มากขึ้น
ความปกติในการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมควบคุมการเจริญเติบโต ต่อมควบคุมความรู้สึกทางเพศ (Gonad) ถ้าทำงานตามปกติจะทำให้คนผู้นั้นมีอารมณ์ปกติ ไม่ก่อพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม แต่ถ้าต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ พฤติกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปได้
มาสโลว์ (Abraham Maslaw 1908-1970) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) ซึ่งเห็นว่า มนุษย์มิใช่ทาสของแรงผลักดันจากความหิว ความกระหาย หรือ ความต้องการทางเพศเท่านั้น แต่มนุษย์ยังเกิดมาพร้อมด้วยศักยภาพของความเป็นมนุษย์ มีความอยากรู้ ความสร้างสรรค์ ความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ในทัศนะของมาสโลว์ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความต้องการ 5 ประเภท จากลำดับต่ำสุดไปสูงสุด ดังนี้
- ความต้องการความสำเร็จแห่งตน (Self-Fulfillment needs)
- ความต้องการนิยมนับถือในตนเอง (Ego needs)
- ความต้องการทางสังคม (Social needs)
- ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)
- ความต้องการทางร่างกาย (Physiological needs)
- ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการที่อยู่ในระดับต่ำสุด แต่เด่นหรือสำคัญที่สุด มนุษย์จะยังไม่สนใจเรื่องอื่นถ้าเขายังหิวกระหาย ความต้องการทางร่างกายนอกจากอาหาร ได้แก่ การพักผ่อน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค
- ความต้องการความปลอดภัย ได้แก่ ความต้องการเพื่อการปกป้องให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ จากการข่มขู่ การแย่งชิงกรรมสิทธิ์ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองแล้ว
- ความต้องการทางสังคม ได้แก่ ความต้องการเพื่อการสมาคม การยอมรับโดยพรรคพวกเพื่อนฝูง ต้องการมิตรภาพและความรัก ความต้องการขึ้นนี้เกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางร่างกายของมนุษย์ได้รับผลเป็นที่พึงพอใจ ความต้องการทางสังคมจะเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมบางประการ เช่น ถ้าไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเขาอาจกลายเป็นนักต่อต้าน ไม่ร่วมมือกับสังคมที่เขาเป็นสมาชิก
- ความต้องการนิยมนับถือในตนเอง (Ego needs) เป็นความต้องการยอมรับ พอใจและภูมิใจในตนเอง และความต้องการในสิ่งที่ก่อให้เกิดชื่อเสียงแห่งตน ความต้องการเพื่อก่อให้เกิดการยอมรับนับถือตน ได้แก่ ความต้องการเพื่อความมั่นใจในตนเอง เพื่อความสำเร็จ ความรู้ความสามารถของตนเอง ส่วนความต้องการเพื่อก่อให้เกิดชื่อเสียงแห่งตน ได้แก่ ความต้องการเพื่อตำแหน่งหน้าที่ เพื่อการรับรอง เพื่อการยอมรับนับถือจากเพื่อน
- ความต้องการความสำเร็จแห่งตน เป็นความต้องการเพื่อพัฒนาตนเองต่อไปเรื่อยๆ ความต้องการเป็นผู้ริเริ่มในเรื่องต่างๆ เพื่อให้สังคมตระหนักในความสามารถของตน เช่น ศึกษา ค้นคว้า เพราะอยากรู้ ทำงาน เพราะใจรักอยากจะทำ

ความสัมพันธ์ของมนุษย์
ความสัมพันธ์ของมนุษย์ หมายถึง สภาวะที่มนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้มีการกระทำต่อกันเพื่อก่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมาย ลักษณะของสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. มีการติดต่อกัน อาจมาพบปะกันโดตรง หรืออาจมีการติดต่อกันทางสื่อสารมวลชนก็ได้
2. มีจุดหมายในการติดต่อกัน เป็นต้นว่า การติดต่อกันระหว่างชาย 2 คน หรือ บริษัท 2 บริษัท เพื่อสั่งซื้อสินค้า หรือร่วมมือกันลงทุนผลิตสินค้าจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อหวังผลกำไร
3. ลักษณะการติดต่อสัมพันธ์กันโดยทั่วไปจะมีลักษณะต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานานซึ่งจะก่อให้เกิดผลแห่งความสัมพันธ์ขึ้น
4. การติดต่อสัมพันธ์กัน ย่อมต้องอาศัยบรรทัดฐานเป็นแนวทางปฏิบัติต่อกันมิฉะนั้นจุดมุ่งหมายแห่งการติดต่อกันคงไม่เป็นผล ความสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะที่ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคม ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อความสัมพันธ์ และก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ตายตัวเสมอไป

การร่วมมือกันกระทำกิจกรรมต่างๆ ย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อมนุษย์และสังคม เป็นการกระทำที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
การแข่งขันกันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำ ทั้งนี้เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างมีจำนวนจำกัด ทำให้ต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้ในสิ่งนั้น เช่น ตำแหน่งงาน การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การได้เงินเดือนขึ้น 2 ขั้น การแข่งขันย่อมก่อให้เกิดผลดี ถ้าคู่แข่งขันยอมรับกติกาและไม่มุ่งหวังที่จะทำลายซึ่งกันและกัน
ส่วนความขัดแย้ง ซึ่งจะแสดงออกในลักษณะของการคัดค้าน ต่อต้าน หรือบังคับซึ่งกันและกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมแพ้ไม่สมารถกระทำการใดๆ ให้บรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งระหว่างนักศึกษากับรัฐบาลในกรณีของระบอบการปกครองผู้ที่ต้องการให้ได้ตามเป้าหมายมักจะไม่ใช้กติกา ไม่มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบของการกระทำ คู่ขัดแย้งมักจะทำลายคู่ต่อสู้เพื่อตนจะได้มีโอกาสสำเร็จตามวัตถุประสงค์
การกระทำต่อกันทางสังคมอาจอยู่ในรูปแบบอื่นอีก เป็นต้นว่า การผ่อนปรนเข้าหากัน(Accommodation) การผสมกลมกลืน (Assimilation)
ความสัมพันธ์แห่งชีวิตมนุษย์กับพฤติกรรม

มนุษย์เมื่อเกิดมาในสังคมก็จะแวดล้อมไปด้วยผู้คน เริ่มแรกอย่างน้อยก็มีแม่ ในระยะแรกแห่งชีวิต มนุษย์จะมีพฤติกรรมไปตามธรรมชาติ ยังไม่มีจุดมุ่งหมาย แต่พ่อแม่ก็จะตอบสนองความต้องการการเลี้ยงดูทะนุถนอม ต่อมาเมื่อเด็กหิวก็จะขยับตัวหรือร้อง แม่ก็จะให้อาหารหรือคนอื่นๆ ก็หันมาสนใจ พฤติกรรมเช่นนี้ เมื่อเด็กทำหลายครั้งและได้รับผลกรรมตอบสนองทำให้เด็กเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขกับผลที่จะได้รับ ดังนั้นเมื่อต้องการสิ่งใดก็จะแสดงพฤติกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดผลหรือได้รับผลตามต้องการนั้นๆ
พันธะผูกพันระหว่างพ่อแม่กับลูกมีความสำคัญยิ่งในการขัดเกลาทางสังคม ลูกจะเลียนแบบเอาอย่างพ่อแม่ในการปฏิบัติตนเพื่อการมีชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนอื่น พฤติกรรมต่างๆ ของพ่อแม่จึงเป็นตัวแบบพฤติกรรมของลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกๆ ของชีวิต หลังจากที่ลูกโตขึ้นและได้คบหาสมาคมกับผู้คนขยายวงกว้างออกไป เขาก็จะเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกินอาหาร การรักษาความสะอาด การพูด การเล่น ตลอดจนความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ประสบการณ์ที่เขาได้รับอาจแยกเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับเงื่อนไข สิ่งเร้า เช่น ความชอบ ความกลัว ส่วนการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนั้น ได้แก่ การกระทำหรือแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาแล้วจะได้รับผลตอบแทนอะไร
การเรียนรู้ว่าพฤติกรรมใดทำให้เกิดผลกรรมเช่นใด ไม่จำเป็นต้องเกิดจากประสบการณ์ตรงเท่านั้น คนเราอาจเรียนรู้จากคำบอกเล่า คำสอนของผู้ใหญ่หรือผู้ที่ได้รับความเชื่อถือ เช่น บอกว่าเดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด จากคำบอกเล่านั้นเขาอาจเชื่อและปฏิบัติตามทั้งๆ ที่ยังไม่เคยประสบกับตัวเองก็ได้ และในภายหลังเขาอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง พฤติกรรมบางอย่างอาจมาจากความเชื่อที่เล่าสืบทอดต่อๆ กันมา และยังไม่เคยมีใครพิสูจน์ได้หรือไม่กล้าพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่ เช่น ถ้าใครตัดเศียรพระพุทธรูปจะได้รับภัยพิบัติในชีวิต เป็นต้น
การเห็นตัวแบบของพฤติกรรรมที่ผู้อื่นปฏิบัติและได้รับผลกรรม ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้และบางอย่างจะมีการเลียนแบบเอาอย่าง แต่บางพฤติกรรมเขาอาจไม่กล้าเลียนแบบ และถ้าพฤติกรรมนั้นๆ มีอยู่ในตัวเขา เขาอาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปก็ได้ กรณีเช่นนี้เราอาจเคยพบเห็นได้บ่อยๆ เช่น การเลียนแบบดาราภาพยนตร์ของทั้งเด็กและวัยรุ่น หรือการเลียนแบบบุคคลที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ส่วนตัวอย่างของการไม่กล้าเลียนแบบ เช่น ตัวอย่างของบุคคลที่มีพฤติกรรมเลว แล้วได้รับการลงโทษ การเชื่อใจคนโดยไม่มีเหตุผล การเป็นของบุคคลที่มีพฤติกรรมเลว แล้วได้รับการลงโทษ การเชื่อใจคนโดยไม่มีเหตุผล การเป็นคนชอบโกหกหลอกลวง ทำให้ตนได้รับเคราะห์กรรม ผู้เห็นด้วยตัวอย่างก็จะไม่กล้ากระทำเช่นนั้น
พฤติกรรมบางอย่างที่บุคคลแสดงออก อาจเกิดจากการตีค่าปรากฏการณ์ที่เขาพบและใช้พื้นฐานความคิดแห่งตน (The concept of self) ประเมินตนเองว่าควรจะมีปฏิกิริยาตอบต่อปรากฏการณ์นั้นอย่างไร เช่น เห็นเพื่อนหน้าบึ้งไม่ยอมพูดด้วย จากการที่ตนไปพูดจากับเขา เขาก็อาจตีความหมายเอาว่าเพื่อนโกรธจากคำพูดของเขา ดังนั้นเขาอาจแสดงการขอโทษ และเปลี่ยนแนวคำพูด
-บรรทัดฐาน(Social Norm)คือ ตัวกำหนดตามพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลในสังคม ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าในสถานการณ์นั้น ๆ บุคคลควรปฏิบัติเช่นใดบ้าง ซึ่งพฤติกรรมจะอยู่ในแนวเดียวกันคือไม่ทำความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ประกอบด้วย
1. วิถีประชา เป็นข้อตกลงของคนหมู่มากแลัวนำมาเป็นแนวปฏิบัติเปลี่ยนแปลงได้ง่ายถ้าทำผิดสังคมลงโทษไม่รุนแรง เช่น การไปงานศพใส่ชุดดำแต่ถ้าไม่ใส่ชุดดำผลที่ได้คือการถูกนินทา ถูกตำหนิทำให้รู้สึกอับอาย
2. จารีตประเพณี เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเพราะจะทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติมีบทลงโทษจากสังคมค่อนข้างรุนแรงและชัดเจน เช่น ลูกควรกตัญญูต่อพ่อแม่ การชิงสุกก่อนห่าม ห้ามผิดประเวณีลูกเมียคนอื่น
3. กฎหมาย เป็นสิ่งที่รัฐได้กำหนดให้บุคคลต้องปฏิบัติหรือไม่ให้ปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความ สงบสุขของประชาชน ถ้าทำผิดมีบทลงโทษที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
-สถานภาพ(Status)บุคคลทุกคนย่อมมีสถานภาพ เช่น เป็นลูก เป็นสามี หรือเป็น กิ๊ก กับสาวห้อง ก. ฯลฯ
สถานภาพ หมายถึง สิทธิและหน้าที่ที่บุคคลมีอยู่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและสังคม
บทบาท(Role) -พฤติกรรมที่ปฏิบัติตามสภานภาพ บทบาทเป็นพฤติกรรมที่สังคมกำหนดและคาดหมายให้บุคคลทำตามหน้าที่
การควบคุมทางสังคมมีจุดมุ่งหวังเพื่อ
- เพื่อให้ผู้คนยึดปฏิบัติตามบรรทัดฐานของกลุ่ม
- เพื่อให้สมาชิกแสดงบทบาทตามเงื่อนไข
- เพื่อให้สมาชิกกระทำกิจกรรมประสาน สัมพันธ์กันเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมาย
การลำดับชั้นยศทางสังคม
ชั้นยศ หมายถึง สถานภาพหรือตำแหน่งที่พิจารณาในแง่เกียติภูมิ เกียรติยศ อำนาจ สิทธิ และเอกสิทธิ์ที่บุคคลได้รับ