วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

2.ประวัติความเป็นมาของมนุษย์

ประวัติมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
หลักฐานเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน ลงความเห็นว่ามนุษย์มีพัฒนาการมาจากวานร (ape) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษร่วมของมนุษย์และลิง บรรพบุรุษรุ่นแรกๆของมนุษย์ยังแตกออกไปหลายเผ่าพันธุ์เช่น ออสตราโลพิทิคัส โฮโม ฮาบิลิส และโฮโม อิเร็กตัส ซึ่งอยู่ในยุค เพลโตเชียน (เมื่อ 1.8 ล้านปีก่อน) โลกยุคนั้นยังเป็นยุคน้ำแข็ง มีสัตว์อย่างเช่นช้างแมมมอท เสือเขี้ยวดาบ แผ่นดินเปลี่ยนแปลงไปจากโลกยุคปัจจุบันมาก
อาฟริกาจุดกำเนิด : หลักฐานโบราณคดีระบุว่ามนุษย์สมัยใหม่เกิดขึ้นในอาฟริการาว 200,000 ปีก่อน ฟอสซิลมนุษย์เก่าแก่ที่สุดพบในโอโมคิบิซ เอธิโอเปีย ส่วนหลักฐานเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์สมัยใหม่นอกแอฟริกา ปรากฎในอิสราเอล แต่คนกลุ่มนั้นสูญพันธ์ไปเมื่อราว 90,000 ปีที่แล้ว
ออกจากอาฟริกา : หลักฐานทางพันธุกรรมชี้ว่ามนุษย์สมัยใหม่ ที่เดินทางออกจากอาฟริกาในช่วง 70,000 ถึง 50,000 ปีก่อน ได้เข้าแทนที่มนุษย์ยุคก่อนหน้าอย่างมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล
เดินทางไปถึงออสเตรเลีย : การพบเครื่องมือต่างๆ ที่มาลาคูนันจา และซากฟอสซิลที่ทะเลสาบมุงโกของออสเตรเลียชี้ให้เห็นว่า มนุษย์สมัยใหม่อาจใช้เส้นทางตามแนวชายฝั่งตอนใต้ของเอเชียเลาะไปถึงทวีปออสเตรเลียเมื่อเกือบ 50,000 ปีที่แล้ว และพบว่าชาวอะบอริจิน ก็ยังคงมีลักษณะพันธุกรรมที่คล้ายกัน
ชาวยุโรป : ข้อมูลพันธุกรรมชี้ว่า ดีเอ็นเอของคนในยูเรเชียตะวันตกปัจจุบันคล้ายกับดีเอ็นเอของชาวอินเดีย เป็นไปได้ว่าบรรพบุรุษมนุษย์จะอพยพจากเอเชียไปยุโรปในช่วง 40,000 ถึง 30,000 ปีที่แล้ว
ชาวเอเชีย : เมื่อประมาณ 40,000 ปีก่อน มนุษย์ได้เดินทางมาเอเชียกลาง และไปถึงทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายทางเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ส่วนอีกสายหนึ่งก็เดินทางผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน ไปสู่ไซบีเรียและญี่ปุ่น ข้อมูลทางพันธุกรรมชี้ว่ามนุษย์ทางเหนือของเอเชียเดินทางไปทวีปอเมริกา
สู่โลกใหม่ : หลักฐานทางพันธุกรรมชี้ว่ามนุษย์รุ่นใหม่เดินทางข้ามทวีปจากเอเชียมายังอเมริกาเหนือผ่านทางไซบีเรียและอะลาสกาในช่วงราว 20,000 ถึง 15,000 ปีก่อน ขณะที่ระดับทะเลลดต่ำจนแผ่นดินระหว่างสองทวีปเชื่อมต่อกัน เพียงชั่วเวลาเก้าพันปีก่อน มนุษย์ก็เดินทางไปตั้งถิ่นฐานเกือบทั่วทั้งโลกมาแต่โบราณกาลแล้ว

2.1.ประวัติความเป็นมาของสังคม
มนุษย์รู้จักการรวมตัวกันเป็นกลุ่มมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแสนปีมาแล้ว โดยในระยะแรก ๆ ได้รวมตัวกันอย่างง่าย ๆ แล้วค่อยวิวัฒนาการมาตามลำดับ จนกลายเป็นสังคม เป็นบ้านเมืองมาจนถึง ทุกวันนี้ สาเหตุที่มนุษย์ต้องรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มหรือสังคมนั้นก็เพราะมนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกันใน การดำรงชีพ เช่น ช่วยกันผลิตอาหาร ช่วยกันสร้างที่อยู่อาศัย ช่วยกันสร้างเครื่องมือการเกษตรและอาวุธเพื่อช่วยป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ หรือจากการรุกรานของมนุษย์ด้วยกัน
นักปราชญ์หลายท่านได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้มนุษย์มาอยู่รวมกันในสังคม ดังนี้
2.2อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social animal) โดยเขาเชื่อว่า โดยสภาพธรรมชาติของมนุษย์แล้วจะต้องมีชีวิตร่วมกับบุคคลอื่น ๆ มีการติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระตามลำพังได้ สังคมจึงเกิดขึ้น อริสโตเติลยังย้ำอีกว่า มนุษย์เพียงคนเดียวนั้นไม่สามารถสืบเชื้อสาย ไม่สามารถป้องกันตัวเองและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพอยู่ได้นานอย่างไรก็ตามนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า สังคมเป็นผลของสัญญาที่มนุษย์ตกลงจัดทำขึ้นด้วยความสมัครใจของมนุษย์เอง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสังคมก็เพื่อขจัดความโหดร้ายทารุณและความสับสนต่าง ๆ ตามสภาพธรรมชาติของมนุษย์
2.3แนวคิดของนักปราชญ์กลุ่มนี้ เรียกว่า “ทฤษฎีสัญญาสังคม”(Social Contract Theories of Society) โดยทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นถึง สภาวะธรรมชาติของมนุษย์ (State of nature) ที่เชื่อว่ามนุษย์ในอดีตนั้นไม่ได้รวมตัวกันเป็นสังคมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ หากแต่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากสภาพความชั่วร้าย ความยุ่งยาก การเพิ่มจำนวนของมนุษย์ ตลอดจนการพัฒนาอารยธรรม จำเป็นให้มนุษย์ต้องละทิ้งธรรมชาติ และหันมาสัญญากันด้วยความ สมัครใจที่จะอยู่รวมกันในสังคม โดยมุ่งหวังที่จะได้รับความคุ้มครองและประโยชน์สุขเป็นการตอบแทนบุคคลสำคัญที่เป็นเจ้าของความคิดนี้ได้แก่ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobes)จอห์น ล็อค (John Locke)และ ชองน์ จาคสร์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobes)
เชื่อว่าก่อนที่มนุษย์จะมารวมกันเป็นสังคมนั้น มนุษย์มีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติซึ่งเป็นสภาพที่ปราศจากสังคม ปราศจากรูปแบบการปกครองหรือรัฐบาล เป็นสังคมที่ “ไร้รัฐ stateless” ไม่มีกฎหมายไม่มีความยุติธรรม ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร ปราศจาก อำนาจกลาง (common power) มนุษย์ตามสภาวะธรรมชาติมีความต้องการมากกว่าเหตุผล ดังนั้นการใช้พละกำลังจึงเป็นเครื่องมืออันเดียวที่จะควบคุมสิทธิของมนุษย์ตามธรรมชาติ ทำให้มนุษย์ตามสภาวะธรรมชาติมีความโหดร้าย มีความเห็นแก่ตัว อย่างไรก็ตามเพื่อขจัดภาวะอันความโหดร้ายดังกล่าว มนุษย์จึงสัญญาที่จะ เข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยค่อย ๆ ละทิ้งสภาวธรรมชาติที่โหดร้ายเหล่านั้นเสีย
อุทัย หิรัญโต เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนย่อมเกิดมาในหมู่คน ดำรงชีวิตอยู่ในหมู่คน และต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ โดยการดำรงชีวิตอยู่เป็นกลุ่มเป็นหมู่นั้น เกิดขึ้นเพราะแรงขับดันทางธรรมชาติ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 พวก คือ
1. ความหิวกระหายต่าง ๆ (Appetite) เช่น ความหิวกระหาย ความใคร่ในกามารมณ์ ความกระหายในการสังสรรค์สมาคมกับคนอื่น ๆ
2. การหลีกเลี่ยงต่าง ๆ (Aversion) เช่น ต้องการหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย ภัยพิบัติและความตาย เป็นต้น
ความหิวกระหายทำให้มนุษย์รู้จักจัดระเบียบสังคม เช่น ทำให้เกิดวัฒนธรรมเกี่ยวกับการ เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การสะสมอาหาร ความกระหายในกามารมณ์ทำให้เกิดการสืบพันธ์การสร้างครอบครัวขึ้น ส่วนการหลีกหนีต่าง ๆ ก่อให้เกิดการจัดการเรื่องสาธารณสุข การจัดให้มีตำรวจเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย สร้างผู้นำเพื่อปกครอง เป็นต้น

2.4 ความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธศาสตร์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่องการกำเนิดจักรวาล โลก มนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ใน อัคคัญญสูตร พระไตรปิฎกและอรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๑๕ หน้า ๑๔๖ พระสูตรนี้ได้กล่าวถึงการบังเกิดขึ้นจักรวาล โลก มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้ (ขอให้พระนิสิตคลิกเข้าไปศึกษาในเว็บการกำเนิดโลกและมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา)