วันจันทร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

มนุษย์กับสังคม Man and Society

. แนวสังเขปรายวิชา
ศึกษาความเป็นมนุษย์ตามหลักการทางสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบัน องค์ประกอบ โครงสร้างและกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อพัฒนาการทางอารมณ์ จิตสำนึกและสติปัญญาของมนุษย์ พิจารณาปัญหาต่างๆของสังคมโดยทั่วไปและปัญหาของสังคมไทย ให้รู้วิธีแก้ปัญหาตามแนวพุทธ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้นิสิตรู้จักลักษณะและคุณสมบัติของมนุษย์
2. เพื่อให้นิสิตรู้จักลักษณะของศักยภาพในมนุษย์ตามแนวทางพุทธศาสนา
3. เพื่อให้นิสิตสามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4. เพื่อให้นิสิตสามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในบทเรียนได้ด้อย่างถูกต้อง
5. เพื่อให้นิสิตมีทัศนคติและมีศีลปัญญาในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างบุคคล

เนื้อหา มนุษย์และพัฒนาการ
1. ลักษณะสากลของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
2. ศักยภาพของมนุษย์
3. พัฒนาการของมนุษย์ตามแนวพุทธศาสตร์

1. ลักษณะสากลของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
1. ยืนตัวตรงและเคลื่อนที่ด้วย 2 ขา
2. ช่วงขายาวกว่าแขน
3. หัวแม่มือ หัวแม่เท้าสั้น พับงอเข้ามาได้
4. กระดูกสันหลังตั้งตรง
5. ร่างกายไม่ค่อยมีขน
6. กระดูกคอ ต่อจากใต้ฐานหัวกะโหลก
7. สมองมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว
8. หน้าสั้นและแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรง
9. ขากรรไกรสั้น และแนวฟันโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม
10. เขี้ยวไม่โตกว่าฟันกรามหน้า
11. ฟันกรามหน้าซี่ที่1 และ 2 ไม่ต่างกันมาก
12. มีระบบสืบพันธุ์ที่ไม่จำกัดขอบเขต
13. เป็นสัตว์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
14. เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์มากที่สุด
15. มีช่วงเวลาหลังจากเจริญวัยเต็มที่นานมาก

2.ลักษณะพิเศษของมนุษย์ที่เหนือกว่าสัตว์อื่น
1. มนุษย์มีความสามารถในการใช้สัญลักษณ์ในการติดต่อสัมพันธ์กัน ช่วยให้เข้าใจกันได้ เช่น นิ้วมือ ภาษา
2. มนุษย์มีวัฒนธรรม ทำให้มนุษย์มีความเป็นระเบียบ สามารถจัดระเบียบของสังคมและมีวิถีชีวิตที่สามารถดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ สามารถสร้างความ เจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมได้
ความได้เปรียบที่สำคัญของมนุษย์
1. ความสามารถในการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด
2. มีมันสมองที่ใหญ่และมีคุณภาพ
3. สามารถเดินได้เร็ว
4. มีนิ้วมือที่สามารถใช้งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด
5. มีตาที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ดีและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
6. มีอายุที่ยืนยาวกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ
7. มนุษย์มีชีวิตอยู่และเรียนรู้ร่วมกันเป็นสังคม
8. มนุษย์มีกิจกรรมทางเพศตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยชรา
9. มนุษย์สามารถเรียนรู้และมีความฉลาด รู้จักใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
10. มนุษย์มีเครื่องมือในการสื่อความหมาย
11. มนุษย์ได้เปรียบสัตว์อื่นๆ เพราะกินอาหารได้มากชนิด ทั้งพืชและสัตว์
พัฒนาการมนุษย์ (Human Development)
พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลง ตามวัยของมนุษย์ที่เป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรม
กับสิ่ง แวดล้อมในลักษณะบันใดวนไม่สิ้น สุดตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนตาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาต่าง ๆ
โดยทั่วไป การกล่าวถึงพัฒนาการนั้นจะเน้นที่การศึกษาถึงการเจริญเติบโตขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการเจริญเติบโต ไปสู่การมีวุฒิภาวะและการเรียนรู้
การเรียนรู้ (Learning) คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีผลจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด การเรียนรู้ เป็นสิ่งจำเป็นในการปรับตัว เพื่อ ความอยู่รอดของมนุษย์
ธรรมชาติของพัฒนาการมนุษย์
-มีลักษณะมีทิศทางแน่นอน มีแบบแผน(DIRECTIONAL)
-มีลักษณะการใช้ส่วนย่อยและรวมกันของส่วนย่อยเป็นกิจกรรมใหม่ขึ้นมา (CUMMULATIVE)
-มีความต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ค่อย ๆ เปลี่ยน (CONTINUOUS)
-พัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
-พัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน
-พัฒนาการมีลักษณะเป็นองค์รวม (Holistic) จะมีลักษณะพัฒนาการไปพร้อม ๆ กันทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
พัฒนาการมนุษย์ เรื่อง : ชนิดของการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการแบ่งออกเป็น 4 ชนิด
1. การเปลี่ยนแปลงทางขนาด เห็นได้ชัด คือทางด้านร่างกายและทางด้านสติปัญญา เด็กจะค่อยๆ สูงขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น รูปร่างขยายใหญ่ขึ้น อวัยวะภายใน เช่นหัวใจ ลำไส้ กระเพาะอาหาและปอด ก็ขยายใหญ่ขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของร่างกายที่เพิ่มขึ้น ส่วนพัฒนาการทางด้านสติปัญญาก็เพิ่มมากขึ้น ทั้งความจำ ความสามารถรับรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการใช้เหตุผล
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วน สัดส่วนของเด็กกับผู้ใหญ่นั้นแตกต่างกันมาก โดยรูปร่างของเด็กไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ย่อลงมา ขนาดของศรีษะเมื่อแรกเกิดจะเป็น 1 / 4 ของความยาวของหัวจรดเท้า แต่ขนาดศรีษะของผู้ใหญ่จะเป็น 1 / 8 ของความยาวของหัวจรดเท้า เมื่ออายุประมาณ 13 ปี สัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีขนาดใกล้เคียงกับผู้ใหญ่
3. ลักษณะเดิมหายไป การเปลี่ยนแปลงในขณะที่เด็กเจริญเติบโตขึ้น ลักษณะที่มีอยู่เดิมจะหายไป ฟันน้ำนม ขนอ่อน ผมไฟ การพูดจาจะชัดเจนขึ้น เคยคืบคลานก็จะเปลี่ยนไปยืนเดิน และวิ่งในที่สุด
4. มีลักษณะใหม่ ๆ เกิดขึ้น บางอย่างมีผลมาจากวุฒิภาวะทางด้านร่างกายจะเห็นได้ชัด เช่น ฟันแท้ขึ้นแทนฟันน้ำนม การมีขนเกิดขึ้นตามอวัยวะเพศและรักแร้ของวัยรุ่น การมีหนวดเครา และเกิดหลั่งอสุจิในชาย การมีทรวดทรงและประจำเดือนในผู้หญิง การปรับปรุงบุคลิกภาพใหม่ ๆ การศึกษาหาความรู้

ศักยภาพของมนุษย์
ศักยภาพ (Potential) คืออะไร
ความสามารถ / ความเก่ง แอบแฝงของบุคคลที่คาดว่ายังมีอยู่ แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการทำงานจริง ๆ สมรรถนะ (Competency) คืออะไร
ความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมที่ เหมาะสมในการทำงานให้เป็นไปตามที่ตำแหน่งนั้นกำหนด
ศักยภาพของมนุษย์

มนุษย์ทุกคนมีความเหมือนกันทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม แต่ในความเหมือนกันส่วนใหญ่นี้มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปอีก
1.ทางกาย ( Physical ) หมายถึงรูปร่างของมนุษย์ทั้งที่เห็นด้วยตา และมองไม่เห็นด้วยตาเช่นรูปร่างหน้าตา สีผิว โครงกระดูก เป็นต้น
2.ทางสติปัญญา ( Intellience ) คือความสามารถของสมองเป็นหลัก แสดงออกในแง่ของเชาว์ปัญญา ความฉลาด การเรียนรู้ การจดจำ เชาว์ปัญญาคือ IQ เป็นมาตรฐานวัดความฉลาดของมนุษย์ ถ้า IQ สูง แสดงว่ามีระดับสติปัญญาสูง ซึ่งมักจะแปรผันตรงกับ การเรียนเก่ง
3.ทางอารมณ์ ( Emotional ) ซึ่งก็คือ EQ การที่เด็กเรียนดี สติปัญญาดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพมีความสุขในอนาคต Dr.Deniel Goleman ( 1997 ) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า " บุคคลควรมีลักษณะอย่างอื่นนอกเหนือจาก IQ คือ EQ ( Emotional quotient ) " นักจิตวิทยามีความเห็นพ้องกันว่า " IQ มีส่วนผลักดันให้คนประสบความสำเร็จเพียง 20 %เท่านั้น ส่วน 80% ที่เหลือมาจากส่วนอื่นๆรวมทั้ง EQ ด้วย หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ " EQ มีองค์ประกอบได้แก่ การรู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองเป็นใคร มีความสามารถในการจัดการอารมณ์ของตนเอง มีวินัยสูง บังคับใจตนเองได้ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คนที่มี EQ สูงมักแสดงออกโดยการมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ดี และสามารถหาทางออกให้กับตนเองได้ด้วยดี ส่วนคนที่มี IQ สูงแต่ล้มเหลวในชีวิตเพราะมี EQ ต่ำ การเลี้ยงดูในวัยเด็กมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์มาก สรุปได้ว่า "คนที่รู้ว่าตนเองมีอารมณ์เป็นอย่างไรย่อมควบคุมทางเดินในชีวิตได้ดีกว่า"
4.ทางสังคม ( Social ) หมายถึงความสามารถของบุคคลที่แสดงออกในหมู่คน ที่เรียกว่า "มีความเก่งคน" ( Social ability ) ปัจจุบันมีคำว่า AQ ( Accessory quotient ) ซึ่งหมายถึงความสามารถทางสังคมของบุคคล ซึ่งสร้างเสริมได้จากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว เด็กที่มี AQ สูงจะเป็นเด็กที่มีความมุ่งมั่น มีความมั่นใจในตนเอง มีแรงจูงใจในการเปลี่ยนอุปสรรคให้กลายเป็นโอกาส
พัฒนาการมนุษย์ (Human Development)
พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลง ตามวัยของมนุษย์ที่เป็นผลจากปฏิ สัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่ง แวดล้อมในลักษณะบันใดวนไม่สิ้น สุดตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนตาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย
อารมณ์ สังคม สติปัญญาต่าง ๆ
พัฒนาการของมนุษย์ตามแนวพุทธศาสนา
ไตรลักษณ์ ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ลักษณะสามัญ ๓ ประการของสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นเหมือนกฎธรรมชาติ ครอบงำสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ ประกอบด้วย อนิจจา ทุกขตา และอนัตตตา
.อนิจจา ความไม่คงที่ ไม่ถาวร หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรเที่ยงแท้ สิ่งมีชีวิต เมื่อเกิดแล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงตามวัย จากเด็กเติบโตมาเป็นวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยชรา และตายไป สิ่งมีชีวิตก็เช่นเดียวกัน จะต้องมีการทรุดโทรม ผุกร่อน และเสื่อมโทรมไปในที่สุด
๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์ของสิ่งทั้งปวง คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ตามปกติคนทั่วไปจะมีการยึดมั่นในเรื่องตัวตน คือการยึดว่า สิ่งนั้นเป็นของเรา นี่คือเรานี่เป็นเรา แต่ในทางของพระพุทธ